การบริหารทรัพยากรโครงการ


เนื้อหา ต่อไปนี้ ป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา อาจจะมีข้อความบางตอนยังไม่ถูกต้อง 100% ผู้อ่านควรพิจารณา หากมีข้อความใดผิดพลาดประการใด ผู้เขียนขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย 
          วันนี้เป็นโจทย์เรื่อง " การบริหารทรัพยากรโครงการ " โจทย์คือ 
 การบริหารโครงการใดๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนำหลักการบริหารบุคลากรเข้ามาปรับใช้เพื่อความสำเร็จของโครงการ อย่างไรก็ตามพบว่าองค์กรหลายแห่งยังประสบปัญหาไม่สามารถบริหารงานตามแผนกลยุทธ์ที่วางไว้ได้ ซึ่งมีสาเหตุมาจากแผนกลยุทธ์ขององค์กรนั้นไม่มีความเชื่อมโยงกับระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร ทำให้เป้าหมายในผลการปฏิบัติงานขององค์กรและเป้าหมายในผลการปฏิบัติงานของสมาชิกองค์กรเป็นไปคนละทิศทาง เป้าหมายทั้ง 2 ส่วนไม่มีความสอดคล้องกัน (align) ซึ่งหากระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานไม่ได้วัดปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับผลสำเร็จของแผนกลยุทธ์ขององค์กร ก็จะทำให้แผนกลยุทธ์ดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะล้มเหลว
          ในการนี้ จึงให้นักศึกษาให้ความคิดเห็นเพื่อเสนอแนวทางในการจัดการความสอดคล้องของผลการปฏิบัติงานระดับองค์กรและผลการปฏิบัติงานระดับบุคคล

ตอบ
         โครงการทุกโครงการ เมื่อมีเกิดขึ้นย่อมมีการสิ้นสุดของโครงการ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลากรและองค์กร จึงมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ การบริการจัดการจึงต้องเลือกวิธีการที่เหมาะสมกับลักษณะความสัมพันธ์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ โดยทรัพยากรที่สำคัญคือ มนุษย์ เพราะมนุษย์เป็นผู้กำหนดความสำเร็จและความล้มเหลวของโครงการ และองค์กร แนวทางที่จะจัดการผลการปฏิบัติงานระดับองค์กรและผลการปฏิบัติงานระดับบุคคล น่าจะยึดหลัก Competency Development Roadmap ซึ่งหมายถึง เส้นทางการพัฒนาความสามารถของพนักงาน โดยจะประกอบไปด้วย
  • ความรู้ (Knownledge)
  • ทักษะ (Skills)
  • คุณลักษณะพิเศษส่วนบุคคล (Personnel Attributrs )
ที่มาภาพ : http://www.firstediting.com/blog/wp-content/uploads/2010/08/outsource.gif
 ความหมายของ Competency Development Roadmap มีความหมายที่แตกต่างกันดังนี้

1.Competency เป็นความสามารถที่คาดหวังของตำแหน่งงาน เนื่องจากความสามารถที่กำหนดขึ้นจะนำไปสู่ผลลัพธ์หรือเป้าหมายที่คาดหวังของแต่ละตำแหน่งงาน

2.Development คือการพัฒนาความสามารถในการทำงานที่ได้รับมอบหมายในปัจจุบันให้สามารถทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมถึงการพัฒนาความสามารถเพื่อเตรียมความพร้อมของพนักงานในการเลื่อนตำแหน่งงานที่สูงขึ้นหรือการรับมอบหมายงานจากหน่วยงานใหม่ ซึ่งเครื่องมือที่จำเป็นในการพัฒนาก็คือ การฝึกอบรม (Training)  โดยการฝึกอบรมจะสามารถทำให้พนักงานเกิดการเรียนรู้ระยะยาว เครื่องมือพัฒนาต่างๆ ได้แก่
  • การสอนงาน (Coaching)
  • การฝึกอบรมในขณะทำงาน (On The Job Training)
  • การมอบหมายโครงการ (Project Assignment)
  • การเพิ่มปริมาณงาน (Job Enlargement)
  • การเพิ่มคุณค่าในงาน (Job Enrichment)
  • การเรียนรู้ด้วยตัวเอง (Self Learning)
  • การให้คำปรึกษาแนะนำ (Consulting)
  • การติดตาม/สังเกตผู้เชียวชาญ (Job Shadowing)
  • การทำกิจกรรม (Activity)
  • การประชุมกลุ่ม (Group Meeting)
3. Roadmap หมายถึงเส้นทางการทำงานเพื่อนำไปสู่เป้าหมายหรือความคาดหวังที่ต้องการ Roadmap เป็นแผนงานระยะยาวที่กำหนดเป้าหมายไว้ชัดเจนจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่ง ซึ่งความสำเร็จขึ้นอยู่กับแผนงานที่กำหนดขึ้นในแต่ละจุดหรือช่วงเวลา
และหลักทฤษฎีที่คิดว่าเหมาะแก่การจัดการกับนิสัยการทำงานของคนไทยคือ ทฤฎีอำนาจและอิทธิพลของธรรมเฮียนและไวล์มอน
    ธรรมเฮียนและไวล์มอนได้ศึกษาวิธีที่ผู้จัดการโครงการใช้เพื่อจัดการกับคนงาน และวีการเหล่านี้สัมพันธ์กับความสำเร็จของโครงการอย่างไร ธรรมเฮียนและไวล์มอน ได้ระบุอิทธิพล 9 ตัวที่ผู้จัดการโครงการสามารถนำมาใช้ดังนี้
  • อำนาจ (authorities) อำนาจตามลำดับขั้นการบังคับบัญชาที่ถูกต้องในการออกคำสั่ง
  • การมอบหมาย (assignment) ความสามารถของผู้จัดการที่จะมอบหมายงานในอนาคต
  • งบประมาณ (budget) ความสามารถของผู้จัดการเพื่อให้อำนาจผู้อื่นใช้เงินที่ได้จัดให้กับโครงการ
  • การส่งเสริม (promotion) ความสามารถในการเลื่อนตำแหน่งของพนักงาน
  • เงิน (money) ความสามารถในการขึ้นค่าจ้างและผลประโยชน์ต่างๆของพนักงาน
  • การลงโทษ (penalty) ความสามารถในการทำโทษ
  • งานท้าทาย (work challenge) ความสามารถในการให้งานที่ให้ความสนุกและท้าทายการทำงานกับพนักงาน ซึ่งตรงกับปัจจัยที่เป็นแรงจูงใจภายในของบุคคล
  • ความเชี่ยวชาญ (expertise) ความรู้ความสามารถพิเศษของผู้จัดการโครงการที่ผู้อื่นเห็นความสำคัญ
  • ความเป็นเพื่อน (friendship) ความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์ฉันท์เพื่อนระหว่าผู้จัดการโครงการกับคนอื่น   
     แต่ทั้งหมดที่กล่าวมา ผู้จัดการโครงการต้องเข้าใจประเภทอิทธิพลและอำนาจที่สามารถใช้ในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน เพื่อประโยชน์แก่ตนเอง ทีมงาน และองค์กรและรวมกันกับการนำ  Competency Development Roadmap มาใช้ในองค์กร ทำให้เกิดประโยชน์ทั้งตัวพนักงาน และองค์กรคือ

ประโยชน์ที่เกิดกับพนักงาน
1.ทำให้พนักงานมั่นใจในการทำงาน
2.พนักงานสามารถใช้เครื่องมือนี้ในการวางแผนความก้าวหน้าในการทำงานของตนเอ
3.ส่งเสริมให้พนักงานเกิดการเรียนรู้พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
ประโยชน์ที่เกิดกับองค์กร
1.ผลงานของพนักงานย่อมนำไปสู่ผลงานขององค์กร
2.ช่วยลดอัตราการสูญเสียกำลังคน
3.ช่วยให้องค์กรสู่ความเป็นเลิศ

อ้างอิง
ผศ.ดร.วราภรณ์ จิรชีพพัฒนา , รายงานการวิจัยการบริหารโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศhttp://rc.nida.ac.th/en/attachments/article/77/_51.pdf
ดร.อาภรณ์ ภู่วิทยพันธ์ , Competency Development Roadmap (CDR),บริษัทเอช อาร์ เซ็นเตอร์ จำกัด ,2552



SHARE

Southern Man

This blog www.whoknown.com ,write to prevent forgotten .

    Blogger Comment
    Facebook Comment

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Advertisement