ตัวอย่างองค์การที่นำมาตรฐานธรรมาภิบาลด้านไอทีต่างๆ

สำรวจว่ามีหน่วยงานใด นำมาตรฐานธรรมาภิบาลด้านไอทีใดบ้างมาใช้ (ให้นักศึกษาสำรวจและนำเสนอองค์การที่มีการนำมาตรฐานธรรมาภิบาลด้านไอทีต่างๆ (เช่น ITIL COBIT  ฯลฯ) มาใช้
  
ตอบ
สำรวจว่ามีหน่วยงานใด นำมาตรฐานธรรมาภิบาลด้านไอทีใดบ้างมาใช้ (ให้นักศึกษาสำรวจและนำเสนอองค์การที่มีการนำมาตรฐานธรรมาภิบาลด้านไอทีต่างๆ (เช่น ITIL COBIT  ฯลฯ) มาใช้

              ธรรมาภิบาลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Governance) หมายถึง การกำกับดูแลเทคโนโลยีสารสนเทศให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ขององค์กร โดยผู้บริหารทุกภาคส่วนมีบทบาทหน้าที่ในการตัดสินใจ และมีส่วนร่วมกำหนดกระบวนการของกิจกรรม/โครงการที่เกี่ยวข้อง

              ธรรมาภิบาลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มีหลายมาตรฐาน อาทิ COBIT, ITIL, CMM/CMMI, COSO, ISO/IEC 38500, ISO/IEC 20000, ISO/IEC 27001 จากการค้นหาหน่วยงานรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และบริษัทเอกชนเรื่องธรรมาภิบาลด้านไอที สามารถค้นหามาได้บางส่วนดังนี้




คลังข้อมูลและสถาปัตยกรรมคลังข้อมูล

คลังข้อมูลและสถาปัตยกรรมคลังข้อมูล
จงตอบคำถามดังกล่าวพร้อมทั้งอธิบายพอสังเขป

1.  จงวิเคราะห์หลักการในการออกแบบคลังข้อมูล (Data Warehouse) ว่ามีหลักการอย่างไรบ้าง

2.  หากเป็นองค์กรขนาดใหญ่ จะออกแบบคลังข้อมูลและวิเคราะห์ระบบคลังข้อมูลอย่างไรให้เหมาะสมต่อการใช้งานข้อมูลที่มีความหลากหลายและมีจำนวนมาก

ตอบ
1.  จงวิเคราะห์หลักการในการออกแบบคลังข้อมูล (Data Warehouse) ว่ามีหลักการอย่างไรบ้าง
                คลังข้อมูล (Data Warehouse)  คือฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่รวบรวมข้อมูลทั้งจากแหล่งข้อมูลภายในและภายนอกองค์กร โดยมีรูปแบบและวัตถุประสงค์ ของการจัดเก็บข้อมูลแตกต่างจากฐานข้อมูลปฏิบัตการทั่วไป การพัฒนาระบบคลังข้อมูลเริ่มจากการออกแบบฐานข้อมูล ซึ่งวิธีการหนึ่งเรียกว่า ระเบียบวิธี 9 ชั้นของ Kimball จะเน้นที่การออกแบบจากระบบงานย่อยหรือดาต้ามาร์ทของแต่ละระบบงานในองค์กรก่อนจึงนำส่วนย่อยๆ นั้นมารวมเป็นระบบคลังข้อมูลขององค์กรต่อไป ซึ่งขั้นตอนทั้ง 9  มีรายละเอียดดังนี้
                1.การเลือกกระบวนการ (choosing the process) การกำหนดดาต้ามาร์ท คือการเลือกว่าจะสร้างดาต้ามาร์ทของระบบงานใดบ้าง และระบบงานใดเป็นระบบงานแรกโดยองค์กรจะต้องสร้าง E-R model ที่รวมระบบงานทุกระบบขององค์กรไว้ แสดงการเชื่อมโยงของแต่ละระบบงานอย่างชัดเจน และสิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการเลือกระบบงานที่จะเป็นดาต้ามาร์ทแรกนั้น มี 3 ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ จะต้องสามารถพัฒนาออกมาได้ทันตามเวลาที่ต้องการ โดยอยู่ในงบประมาณที่กำหนดไว้และต้องตอบปัญหาทางธุรกิจให้แก่องค์กรได้ ดังนั้นดาต้ามาร์ทแรกควรจะเป็นของระบบงานที่นำรายได้เข้ามาสู่องค์กรได้ เช่น ระบบงานขาย เป็นต้น
                2.การเลือกระดับความละเอียดของข้อมูล (choosing the grain) กำหนด fact table ของดาต้ามาร์ท คือกำหนดเนื่อหาหลักที่ควรจะเป็นของดาต้ามาร์ท โดยการเลือกเอนทิตีหลักและกระบวนการที่เกี่ยวกับเอนทริตีนั้นๆ ออกมาจาก E-R model ขององค์กร นั้นหมายถึงว่าจะทำให้เราทราบถึง dimension table ที่ควรจะมีด้วย
                3. การกำหนดมิติที่เหมือนกันและตรงกัน (identifying and conforming the dimensions) กำหนดแอตทริบิวต์ที่จำเป็นในแต่ละ dimension table คือการกำหนดแอตทริบิวต์ที่บอกหรืออธิบายรายละเอียดของ dimension ได้ ทั้งนี้แอตทริบิวต์ที่เป็น primary key ควรเป็นค่าที่คำนวณได้ กรณีที่มีดาต้ามาร์ทมากกว่าหนึ่งดาต้ามาร์ทมี dimension เหมือนกัน นั่นหมายถึงว่า แอตทริบิวตืใน dimension นั้นจะต้องเหมือนกันทุกประการ นั้นไม่อาจจะแก้ไขปัญหาการจัดเก็บข้อมูลซ้ำซ้อน อันนำมาสู่ความแตกต่างกันของข้อมูลชุดเดียวกัน ปัญหานี้จึงเป็นการดีที่จะมีการใช้ dimension table ร่วมกันในแต่ละ fact table ที่จำเป็นต้องมี dimension ดังกล่าว โดยเรียก dimension table ลักษณะแบบนี้ว่า comformed และเรียก fact table ว่า fact constellation เราสามารถกำหนดข้อดีของการใช้ dimension table ร่วมกันได้ดังนี้
                (1) แน่ใจได้ว่าในแต่ละรายงานจะออกมาสอดคล้องกัน
                (2) สามารถสร้างดาต้ามาร์ทในเวลาต่างๆ กันได้
                (3) สามารถเข้าถึงดาต้ามาร์ทโดยผู้พัฒนากลุ่มอื่นๆ
                (4) สามารถรวบรวมดาต้ามาร์ทหลายๆ อันเข้าด้วยกัน
                (5) สามารถออกแบบคลังข้อมูลร่วมกันได้
                4. การกำหนดแอตทริบิวต์ (choosing the face) กำหนดแอตทริบิวต์ที่จำเป็นใน fact table โดยแอตทริบิวต์หลักใน fact table จะมาจาก primary key ในแต่ละ dimension table นอกจากนี้แล้ว ยังสามารถมีแอตทริบิวต์ที่จำเป็นอื่นๆ ประกอบอยู่ด้วย เช่น แอตทริบิวต์ที่ได้จากการคำนวณค่าเบื่องต้นที่จำเป็นสำหรับการคงอยู่ของแอตทริบิวต์อื่นใน fact table เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า measure การกำหนดแอตทริบิวต์นี้ไม่ควรจะเลือกแอตทริบิวต์ที่คำนวณไม่ได้ เช่นเป็นตัวหนังสือหรือไม่ใช่ตัวเลข เป็นต้น และไม่ควรเลือกแอตทริบิวต์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื่อหาของ fact table ที่เราสนใจด้วย
                5. จัดเก็บค่าการคำนวณเบื้องต้นในตารางข้อเท็จจริง (storing pre-calculation in the face table) จัดเก็บค่าการคำนวณเบื้องต้นใน fact table คือการจัดเก็บที่ได้จากการคำนวณให้เป็นแอตทริบิวต์ใน fact table ถึงแม้ว่าจะสามารถหาค่าได้จากแอตทริบิวต์อื่นๆ ก็ตาม ทั้งนี้เพื่อให้การสอบถามมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถทำงานด้วยความเร็วที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากไม่ต้องคำนวณค่าใหม่ทั้งหมด ถึงแม้ว่าจะเกิดความซ้ำซ้อนของข้อมูลในการจัดเก็บบ้างก็ตาม
                6. ข้อมูลในตารางมิติต้องแจกแจงได้ (Rounding out the dimension tables) เขียนคำอธิบาย dimension table ทั้งนี้ก็เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้งานดาต้ามาร์ทได้อย่างมีประสิทธิภาพเพราะเกิดความเข้าใจอย่างดีในส่วนต่างๆ
                7. การเลือกช่วงเวลาของฐานข้อมูล (Choosing the duration of the database) กำหนดระยะเวลาในการจัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูล โดยอาจจะเป็นการจัดเก็บเพียงช่วงระยะเวลา 1-2 ปี หรือนานกว่านั้น ขึ้นอยู่กับความต้องการขององค์กร เนื่องจากองค์กรแต่ละประเภทมีความต้องการในการจัดเก็บข้อมูลต่างช่วงเวลากัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความจำเป็นหรือข้อกำหนดในการดำเนินธุรกิจมีข้อสังเกตอยู่ 2 ประการที่น่าสนใจและสำคัญสำหรับการออกแบบแอตทริบิวต์ในเรื่องของการจัดเก็บข้อมูล ดังนี้
              (1) ข้อมูลที่ถูกจัดเก็บไว้นานเกินไปมักเกิดปัญหาการอ่าน หรือแปลข้อมูลนั้นๆ จากแฟ้มหรือเทปเก่า
              (2) เมื่อมีการนำรูปแบบเก่าของ dimension table มาใช้อาจเกิดปัญหาการเปลี่ยนแปลงของ dimension อย่างช้าๆ ได้

                8. การติดตามการเปลี่ยนแปลงของมิติ (Tracking slowly changing dimensions (SCD) การติดตามปัญหาการเปลี่ยนแปลงของ dimension อย่างช้าๆ คือ การเปลี่ยนเอาแอตทริบิวต์ของ dimension table เก่ามาใช้แล้วส่งผลกระทบต่อข้อมูลปัจจุบันของ dimension table โดยสามารถแบ่งประเภทของปัญหาที่เกิดได้ 3 ประเภท ดังนี้

                (1) เกิดการเขียนทับข้อมูลใหม่โดยข้อมูลเก่า
                (2) เกิดเรคอร์ดใหม่ๆ ขึ้นใน dimension
                (3) เกิดเรคอร์ดที่มีทั้งค่าเก่าและใหม่ปนกันไป

                9. การกำหนดลำดับความสำคัญของคิวรี (Deciding the query priorities and the query modes) กำหนดคิวรี่เป็นการออกแบบด้านกานภาพเพื่อให้ผู้ใช้เกิดความสะดวกในการใช้งานและสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อดำเนินการทั้ง 9 ขั้นตอนสำหรับแต่ละดาต้ามาร์ทเสร็จแล้ว จึงจะนำทั้งหมดมารวมกันเป็นภาพของคลังข้อมูลขององค์กรต่อไป

2.  หากเป็นองค์กรขนาดใหญ่ จะออกแบบคลังข้อมูลและวิเคราะห์ระบบคลังข้อมูลอย่างไรให้เหมาะสมต่อการใช้งานข้อมูลที่มีความหลากหลายและมีจำนวนมาก
ตอบ
                1. การใช้ข้อมูลเป็นเครื่องมือสำคัญในการตัดสินใจการลงทุนทางธุรกิจและวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อแข่งขันกับคู่แข่งทางการค้า ฉะนั้นก็อาจกล่าวได้ว่าการมีข้อมูลมากทำให้มีโอกาสและมีชัยเหนือคู่แข่งในระดับหนึ่ง แต่ทว่าหากมองในทางกลับกัน การมีข้อมูลจำนวนมากแต่ขาดการจัดเรียงให้เป็นระบบยุ่งยากในการเข้าถึงและค้นคืน ธุรกิจอาจต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมหาศาลในการเก็บรักษาข้อมูลเหล่านั้นไว้โดยไม่จำเป็น เพราะไม่ได้รับประโยชน์จากข้อมูลที่มี นอกจากนี้หากมีการนำข้อมูลมาวิเคราะห์อย่างผิดพลาดอาจจะก่อให้เกิดผลเสียหายได้ ซึ่งเป็นการสูญเสียโอกาสทางธุรกิจไป เพราะฉะนั้นในยุคที่ผู้บริหารมีความต้องการใช้ข้อมูล เพื่อการตัดสินใจมากขึ้น การจัดระบบระเบียบข้อมูล เพื่อนำเสนอข้อมูลที่มีคุณค่าและผ่านการกลั่นกรองแล้วแก่ผู้บริหารเพื่อใช้ในการตัดสินใจให้ทันต่อเหตุการณ์จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง

แนวความคิดของการสร้างคลังข้อมูลจึงเกิดขึ้นเพื่อเป็นที่เก็บรวบรวมข้อมูลสำคัญและจำเป็นจากแหล่งต่างๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจของผู้บริหาร เพื่อให้ผู้บริหารสามารถเรียกใช้ข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ข้อมูลเชิงบริหารนี้จะสามารถช่วยลดปัญหาที่เกิดจากการใช้ข้อมูลจากฐานปฏิบัติการ (operational database) ซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลในรูปแบบ transaction system ได้ ซึ่งโดยทั่วไปปัญหาที่พบเมื่อต้องการข้อมูลที่ช่วยในการตัดสินใจได้แก่

- การเรียงข้อมูลจากฐานข้อมูลปฏิบัติการ ซึ่งมีขนาดใหญ่ ทำให้ประสิทธิภาพของระบบลดลงและทำงานได้ช้าลง
- ข้อมูลที่นำเสนอมีรูปแบบเดียว ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความต้องการของผู้บริหาร
- ไม่สามารถหาคำตอบในเชิงพยากรณ์ได้
- ไม่ตอบสนองการทำคิวรี่ที่ซับซ้อนได้ดีเท่าที่ควร
- ข้อมูลถูกจัดเก็บอยู่ตามฐานข้อมูลของระบบงานต่างๆ ซึ่งยากแก่การเรียกใช้และขาดความสัมพันธ์ทางธุรกิจ

          2. สิ่งที่ควรพิจารณา ก่อนสร้างคลังข้อมูลเนื่องจากการลงทุนสร้างคลังข้อมูลขึ้นมาใช้เพื่อสนับสนุนการทำงานขององค์กรนั้นจำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายในการลงทุนมหาศาล ทั้งที่สามารถวัดออกมาเป็นตัวเงินได้ เช่นค่าใช้จ่ายด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และ infrastructure อื่นๆ ที่จำเป็นต้องใช้ ส่วนค่าใช้จ่ายที่ไม่เป็นตัวเงิน แต่มีความสำคัญอย่างมากได้แก่ กำลังแรงงานที่เสียไปของทรัพยากรบุคคลขององค์กรและเวลาที่ใช้ในการพัฒนา ดังนั้น เมื่อองค์กรตัดสินใจสร้างคลังข้อมูลขึ้นแล้ว ควรจะประสบความสำเร็จด้วย ทั้งนี้ Poe ได้เสนอ The Big Eight หรือ 8 ประการที่ควรให้ความสนใจ โดยมีรายละเอียดดังนี้

           2.1 ควรมีเป้าหมายที่ชัดเจนร่วมของการสร้างระบบนี้ของคนในองค์กร เหมือนการตอบคำถามว่าทำไมคุณถึงคิดจะสร้างคลังข้อมูล? ซึ่งคำตอบขององค์กร ที่จะได้คือเป้าหมายที่ต้องการ โดยควรจะเขียนเป้าหมายนี้ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรที่ชัดเจน เพื่อให้ทีมพัฒนาได้เข้าใจเป้าหมายร่วมกัน
          2.2 ทำความเข้าใจสถาปัตยกรรมของระบบ เพื่อให้ทีมพัฒนาเข้าใจตรงกัน ในที่นี้หมายถึง blueprint ที่แสดง E-R model รวมของระบบความเข้าใจที่ตรงกันทำให้งานเดินไปได้เร็วขึ้น
          2.3 เทคโนโลยี่ที่ใช้ควรอยู่ในวิสัยที่เหมาะสม ทั้งด้านของตัวเงินและความยากง่ายในการเรียนรู้ ทั้งนี้หมายรวมทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และเครือข่าย อาจต้องมีการทดสอบและฝึกอบรมก่อนการใช้งานจริง
          2.4 ทีมงานต้องมีวิสัยทัศน์เชิงบวกในการทำงาน เนื่องจากทีมพัฒนามักมาจากส่วนงานด้านเทคโนโลยีสารสรเทศ แต่ในเนื้องานจริงๆ แล้วผู้ใช้ขั้นปลายเป็นส่วนงานอื่นๆ ขององค์กร ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะให้ผู้ใช้ขั้นปลายที่เป็นเจ้าของงานเข้ามาร่วมทำงานด้วยตั่งแต่ต้นโครงการ
          2.5 ต้องมั่นใจได้ว่าทีมพัฒนาเข้าใจเป็นอย่างดีถึงความแตกต่างกันระหว่างฐานข้อมูลปฏิบัติการและฐานข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจ
          2.6 จัดให้มีการฝึกอบรม โดยควรเป็นการฝึกอบรมก่อนเริ่มโครงการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฝึกอบรมเกี่ยวกับเครื่องมือที่องค์กรจะใช้พัฒนา ทั้งนี้อาจเป็นการฝึกอบรมจากบริษัทผู้ขาย
          2.7 ควรหาบุคลากรที่มีประสบการณ์ในการพัฒนาคลังข้อมูลเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้จัดการโครงการหรือถ้าในองค์กรไม่เคยมีประสบการณ์เลย อาจจ้างที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ด้านนี้โดยเฉพาะมาช่วยทีมพัฒนา
          2.8 โปรแกรมที่จะใช้นำเสนอข้อมูลในคลังข้อมูล ต้องสามารถเรียนรู้ได้ง่ายและผู้ใช้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

          3.แนวคิดเกี่ยวกับคลังข้อมูล

          3.1 นิยามของคลังข้อมูลคลังข้อมูล หมายถึง ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ขององค์กรหรือหน่วยงานหนึ่งๆ ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลจากฐานข้อมูลระบบงานประจำวัน หรือเรียกอีกอย่างว่า operational database และฐานข้อมูลอื่นภายนอกองค์กร หรือเรียกว่า external database โดยข้อมูลที่ถูกจัดเก็บในคลังข้อมูลนั้น มีวัตถุประสงค์ในการนำมาใช้งานและมีลักษณะของการจัดเก็บแตกต่างไปจากข้อมูลในฐานข้อมูลระบบงานอื่น โดยข้อมูลในคลังข้อมูลจะถูกนำมาใช้เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจบริหารงานของผู้บริหาร โดยเฉพาะการเป็นข้อมูลพื้นฐานให้กับระบบงาน เพื่อการบริหารงานอื่น เช่น ระบบ DSS และระบบ CRM เป็นต้น
          3.2 คุณลักษณะเฉพาะของคลังข้อมูลจากนิยามของคลังข้อมูลที่บอกถึงความแตกต่างกันระหว่างคลังข้อมูลกับฐานข้อมูลปฏิบัติการ ซึ่งสามารถสรุปคุณลักษณะของคลังข้อมูลได้ดังนี้

          1. Subject oriented หรือการแบ่งโครงสร้างตามเนื้อหา หมายถึง คลังข้อมูลถูกออกแบบมาเพื่อมุ่งเน้นไปในแต่ละเนื้อหาที่สนใจ ไม่ได้เน้นไปที่การทำงานหรือกระบวนการแต่ละอย่างโดยเฉพาะเหมือนอย่างฐานข้อมูลปฏิบัติการในส่วนของรายละเอียดข้อมูลที่จัดเก็บในระบบทั้งสองแบบก็จะแตกต่างกันไปตามความต้องการใช้งานด้วยเช่นกัน คลังข้อมูลจะไม่จำกัดเก็บข้อมูลที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการประมวลผลเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ ในขณะที่ข้อมูลนั้นจะถูกเก็บไว้ในฐานข้อมูลปฏิบัติการหากมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทำงาน

          2. Integration หรือการรวมเป็นหนึ่ง ซึ่งถือได้ว่าเป็นคุณลักษณะที่สำคัญที่สุดของคลังข้อมูล คือการรวบรวมข้อมูลจากหลายฐานข้อมูลปฏิบัติการเข้าด้วยกัน และทำให้ข้อมูลมีมาตราฐานเดียวกัน เช่นกำหนดให้มีค่าตัวแปรของข้อมูลในเนื่อหาเดียวกันให้เป็นแบบเดียวกันทั้งหมด
         3. Time variancy หรือความสัมพันธ์กับเวลา หมายถึงข้อมูลในคลังข้อมูล จะต้องจัดเก็บโดยกำหนดช่วงเวลาเอาไว้ โดยจะสัมพันธ์กับการดำเนินธุรกิจของหน่วยธุรกิจนั้น เพราะในการตัดสินด้านการบริหารจำเป็นต้องมีข้อมูลเปรียบเทียบในแต่ละช่วงเวลา แต่ละจุดของข้อมูลจะเกี่ยวข้องกับจุดของเวลาและข้อมูลแต่ละจุดสามารถเปรียบเทียบกันได้ตามแกนของเวลา
          4. Nonvolatile หรือความเสถียรของข้อมูล หมายถึงข้อมูลในคลังข้อมูลจะไม่เปลี่ยนแปลงบ่อย ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มเติมข้อมูลใหม่ หรือการปรับปรุงแก้ไขข้อมูลเดิมที่บรรจุอยู่แล้ว ผู้ใช้ทำได้เพียงการเข้าถึงข้อมูลเท่านั้น

          4. สถาปัตยกรรมคลังข้อมูล (Data Wharehouse Architrcture- DWA)DWA เป็นโครงสร้างมาตราฐานที่ใช้บ่อย เพื่อให้เข้าใจแนวคิด และกระบวนการของคลังข้อมูลนั้นๆ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วคลังข้อมูลแต่ละระบบอาจจะมีรูปแบบที่ไม่เหมือนกันได้ เพื่อให้เหมาะสมกับองค์กรนั้นๆ ทั้งนี้ส่วนประกอบต่างๆ ภายใน DWA ที่สำคัญได้แก่
          1. Operational database หรือ external database layer ทำหน้าที่จัดการกับข้อมูลในระบบงานปฏิบัติการหรือแหล่งข้อมูลภายนอกองค์กร
          2. Information access layer เป็นส่วนที่ผู้ใช้ปลายทางติดต่อผ่านโดยตรง ประกอบด้วยฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ที่ใช้ในการแสดงผลเพื่อวิเคราะห์ โดยมีเครื่องมือช่วย เป็นตัวกลางที่ผู้ใช้ใช้ติดต่อกับคลังข้อมูล โดยในปัจจุบันเครื่องมือที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนั้นคือ Online Analytical Processing Tool หรือ OLAP tool ซึ่งเป็นเครื่องมือที่มีความสามารถในการวิเคราะห์ที่ซับซ้อน และแสดงข้อมูลในรูปแบบหลายมิติ
          3. Data access layer เป็นส่วนต่อประสานระหว่าง Information access layer กับ operational layer
          4. Data directory (metadata) layer เพื่อให้เข้าใจถึงข้อมูลได้ง่ายขึ้น และเป็นการเพิ่มความเร็วในการเรียกและดึงข้อมูลของคลังข้อมูล
          5. Process management layer ทำหน้าที่จัดการกระบวนการทำงานทั้งหมด
          6. Application messaging layer เป็นมิดเดิลแวร์ ทำหน้าที่ในการส่งข้อมูลภายในองค์กรผ่านทางเคลือข่าย
          7. Data warehouse (physical) layer เป็นแหล่งเก็บข้อมูลของทั้ง information data และ external data ในรูปแบบที่ง่ายแก่การเข้าถึงและยืดหยุ่นได้
          8. Data staging layer เป็นกระบวนการการแก้ไข และดึงข้อมูลจาก external database

          5. เทคนิคในการสร้างคลังข้อมูล
          5.1 การเคลื่อนที่ของข้อมูลในคลังข้อมูลข้อมูลที่จัดเก็บภายในคลังข้อมูลมีการเคลื่อนที่ของข้อมูล (information flow) 5 ประเภท ดังนี้
           1)Inflow คือการนำข้อมูลจากฐานข้อมูลอื่นเข้าสู่คลังข้อมูลทั้งฐานข้อมูลภายในและภายนอกองค์กร โดยในขั้นนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงโรงสร้างข้อมูล การทำ denormalize การลบหรือการเพิ่มฟิลด์เพื่อให้ข้อมูลทั้งหมดอยู่ในเนื้อหาที่สนใจเดียวกัน ในขั้นตอนนี้อาจใช้เครื่องมือที่เรียกว่า data warehouse tool
          2) Upflow เมื่อข้อมูลที่เราต้องการอยู่ในคลังข้อมูลแล้ว ในบางครั้งอาจต้องมีการเพิ่มคุณค่าให้กับข้อมูลด้วยเพื่อให้ข้อมูลอยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์มากที่สุดต่อการนำเครื่องมือมาใช้ ซึ่งได้แก่การจัดกลุ่มข้อมูลหาค่าทางสถิติที่ซับซ้อน จัดข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบหรือเทมเพลตมาตราฐาน
          3) Downflow เป็นขั้นตอนของการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงข้อมูลเก่า และไม่อยู่ในเนื่อหาที่องค์กรสนใจออกไปจากคลังข้อมูลขององค์กร
          4) Outflow เป็นขั้นตอนที่ผู้ใช้เรียกใช้ข้อมูลในคลังข้อมูลผ่านเครื่องมือต่างๆ โดยการเรียกใช้อาจมีเพียงขอเรียกเป็นครั้งคราวเป็นประจำทุกวัน/เดือน หรือแม้กระทั่งต้องการแบบทันที
          5)Metaflow ข้อมูลที่จัดเก็บในคลังข้อมูลจะถูกทำข้อมูลไว้อีกชุดหนึ่ง เป็นแหล่งที่มาของข้อมูลนั้น หรือแม้กระทั่งที่อยู่ของข้อมูลนั้นในคลังข้อมูลและข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง

          5.2 วิธีการออกแบบฐานข้อมูลสำหรับคลังข้อมูลวิธีการนี้ถูกเสนอโดย Kimball ในปี 1996 เรียกว่าระเบียบวิธี 9 ชั้น หรือ Nine-Step Methodology โดยวิธีการนี้เริ่มจากการออกแบบจากส่วนย่อยที่แสดงถึงแต่ละระบบงานขององค์กร หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าดาต้ามาร์ท (data mart) โดยเมื่อออกแบบแต่ละส่วนสำเร็จแล้ว จึงนำมารวมกันเป็นคลังข้อมูล ขององค์กรในขั้นสุดท้าย ซึ่งขั้นตอนทั้ง 9 ขั้นตอนตามที่เคยกล่าวไว้ในข้อ 2.1

          5.3 การแปลงข้อมูลเข้าสู่ดาต้ามาร์ทเมื่อเราออกแบบฐานข้อมูลสำหรับแต่ละดาต้ามาร์ทเสร็จแล้ว ขั้นตอนต่อไปที่สำคัญยิ่งก็คือการนำข้อมูลจากแหล่งข้อมูลไปแปลงให้อยู่ในแพลตฟอร์มของฐานข้อมูลที่ได้ออกแบบไว้ นั่นก็คือการแปลงข้อมูล หรือ Extraction Transformation and Loading (ETL) นั่นเอง โดยที่คุณภาพของการแปลงข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการสร้างคลังข้อมูล จะแตกต่างกันไปตามคลังข้อมูลที่แต่ละองค์กรต้องการ โดยที่การแปลงข้อมูลหมายรวมตั้งแต่การวิเคราะห์แหล่งข้อมูล กำหนดการส่งข้อมูลรวบรวมหรือสร้างข้อมูลภายนอก วางแผนและสร้างรูทีนของการแปลงข้อมูล และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้สามารถสรุปเป็นขั้นตอนได้ดังนี้

          1) วิเคราะห์แหล่งข้อมูล เช่น ปริมาณของข้อมูล จำนวนและชนิดของการเข้าถึงแหล่งข้อมูล แพลตฟอร์มและภาษาโปรแกรมที่ใช้ เป็นต้น
          2) ย้ายข้อมูลที่ต้องการจากระบบเดิมมาไว้ในบริเวณที่ใช้ปรับแต่งข้อมูล หรือเรียกบริเวณนี้ว่า staging area เพื่อนำมาเลือกเฉพาะส่วนที่ต้องการแปลงข้อมูลและตรวจสอบความถูกต้อง หรือการทำความสะอาดข้อมูล
          3) กำหนด primary key ของ fact table และ dimension table และกำหนด foreign key ระหว่าง fact table กับ dimension table
          4) ย้ายข้อมูลที่ทำความสะอาดแล้วจาก staging area ลงสู่เซิร์ฟเวอร์ของดาต้ามาร์ท
          5) สร้าง metadata ของแต่ละดาต้ามาร์ท โดยเก็บรายละเอียดของข้อมูลการอัปเดตและส่งออกไปไว้ในดาต้ามาร์ท
         6) ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล ซึ่งจะต้องกระทำตลอดทั้งกระบวนการแปลงข้อมูลจำทำได้ดังนี้
         -  ตรวจสอบผลรวมทั้งหมดของจำนวนข้อมูลที่ดึงมาจากแหล่งข้อมูลที่เพิ่มเข้าไป
         -  ตรวจแก้ข้อมูลในระบบเดิมของแหล่งข้อมูล หรือในรูทีนของการแปลง ซึ่งควรจะเก็บข้อมูลในการตรวจแก้ไว้ใน metadata ของการแปลงข้อมูลด้วย
        - ตรวจสอบค่าของข้อมูลให้ถูกต้องในกระบวนการรวบรวมข้อมูล
        - ตรวจสอบผลรวมของข้อมูลหลังจากย้ายข้อมูลลงสู่ดาต้ามาร์ทแล้ว

สรุป คลังข้อมูลเป็นการรวบรวมข้อมูลจากฐานข้อมูลของระบบงานปฏิบัติงานประจำวันขององค์กร แล้วนำมาแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบ ที่เหมาะสมในการเก็บและสะดวกในการใช้งาน แล้วจึงนำข้อมูลนั้นเข้าไปเก็บในคลังข้อมูล  การพัฒนาหรือสร้างคลังข้อมูลจากฐานข้อมูลจะต้องมีการพิจารณาถึงองคืประกอบที่จำเป็นในการสร้างให้เหมาะสมด้วย ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าในการลงทุนและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีคลังข้อมูล จะให้ประสิทธิภาพในการใช้ข้อมูลอย่างมากก็ตาม แต่สิ่งที่ต้องคำนึงด้วยคือทรัพยากรที่องค์กรจะต้องทุ่มเทลงไปในการพัฒนาที่อาจจะเกิดขึ้นจนองค์กรไม่สามารถจะพัฒนาระบบนี้จนสำเร็จ และนำมาใช้งานได้ เกิดการลงทุนที่สูญเปล่า ดังนั้นจึงต้องมีการวางแผนควบคุมและจัดการให้รอบคอบ.

 
อ้างอิง

สุวรรณี อัศวกุลชัย “หลักการพื้นฐานของคลังข้อมูล” ใน ประมวลสาระชุดวิชาคลังข้อมูล เหมืองข้อมูล 
               และธุรกิจอัจฉริยะ หน่วยที่ 1-7  นนทบุรี สาขาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี  มหาวิทยาลัย
                สุโขทัยธรรมาธิราช 2555

สุวรรณี อัศวกุลชัย “สถาปัตยกรรมของคลังข้อมูล” ใน ประมวลสาระชุดวิชาคลังข้อมูล เหมืองข้อมูล 
               และธุรกิจอัจฉริยะ หน่วยที่ 1-7  นนทบุรี สาขาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี  มหาวิทยาลัย
                สุโขทัยธรรมาธิราช 2555

ชัยเลิศ พิชิตพรชัย “การพัฒนาระบบคลังข้อมูล” ใน ประมวลสาระชุดวิชาคลังข้อมูล เหมืองข้อมูล 
               และธุรกิจอัจฉริยะ หน่วยที่ 1-7  นนทบุรี สาขาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี  มหาวิทยาลัย
                สุโขทัยธรรมาธิราช 2555          

http://sci.feu.ac.th/supattanawaree/datawarehouse.pdf
http://ismnida.wordpress.com/category/data-warehouse
http://ironbark.xtelco.com.au/subjects/DB/2010s2/lectures/lecture24.html
http://web.kku.ac.th/wichuda/DataWH/datawarehose.pdf


การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในเชิงกลยุทธ์


          หากบริษัทของท่านเป็นองค์กรขนาดใหญ่ ดำเนินการด้านธุรกิจการกวดวิชาทุกระดับชั้นตั้งแต่ มัธยมต้น มัธยมปลาย จนถึงระดับมหาวิทยาลัย มีหลายสาขาทั่วประเทศ และมีแผนที่จะต่อยอดธุรกิจกวดวิชาในโลกออนไลน์  ท่านคิดว่าเทคโนโลยีสารสนเทศดังต่อไปนี้ สามารถสนับสนุนธุรกิจของท่านอย่างไรในเชิงกลยุทธ์ 
1.             Web service
2.             Cloud computing 
3.             Knowledge Management

ตอบ
               ค่านิยมในการเรียนกวดวิชาของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมตอนปลายจนถึงระดับมหาวิทยาลัย   ส่งผลให้ธุรกิจกวดวิชาเติบโตและมีมูลค่าตลาดสูง ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้วิจัยไว้ว่า  “ ประมาณการมูลค่าตลาดธุรกิจกวดวิชาในปี 2556 ไว้ที่ประมาณ 7,160 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2555 ที่มีมูลค่าประมาณ 7,000 ล้านบาท และจะเติบโตไปสู่ 8,189 ล้านบาทในปี 2558 หรือเติบโตโดยเฉลี่ยร้อยละ 5.4 ต่อปี โดยคาดว่าจะมีปัจจัยหนุนมาจากการเพิ่มราคาค่าเรียนต่อหลักสูตรและจำนวนนักเรียนที่เรียนกวดวิชาเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ความท้าทายที่อาจส่งผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจกวดวิชาในอนาคต ได้แก่ ทางเลือกของนักเรียนในการเข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัยที่มากขึ้น ทั้งการเปิดหลักสูตรภาคพิเศษและหลักสูตรนานาชาติของมหาวิทยาลัยรัฐบาล การยกระดับคุณภาพของมหาวิทยาลัยเอกชน รวมถึงการจัดกิจกรรมการตลาดของผู้ผลิตสินค้าในรูปแบบการเปิดติววิชาต่างๆโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
             เนื่องจากทางบริษัทของเราเป็นองค์กรขนาดใหญ่ ในการดำเนินการด้านธุรกิจการกวดวิชาทุกระดับชั้นตั้งแต่ มัธยมต้น มัธยมปลาย จนถึงระดับมหาวิทยาลัย มีหลายสาขาทั่วประเทศ และมีแผนที่จะต่อยอดธุรกิจกวดวิชาในโลกออนไลน์ เราจะสามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศดังต่อไปนี้ เช่น Web service , Cloud computing และ Knowledge Management  มาสนับสนุนธุรกิจในเชิงกลยุทธ์ ได้ดังนี้
                1.Web   Service
               
Web Service เป็นระบบซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ ที่พัฒนาขึ้นเพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูล ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือระหว่างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ผ่านระบบเครือข่าย  โดยมี XML เป็นเครื่องมือสำคัญในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน ด้วยเหตุนี้ เครื่องคอมพิวเตอร์ , Smartphone , iPad , iPhone , Android , Tablet และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ซึ่งสนันสนุนการทำงานกับ Web Service จึงสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ ผ่านระบบเครือข่ายที่อุปกรณ์นั้นๆ เชื่อมต่อกันอยู่ ตัวอย่างขั้นตอนการทำงานของ web service


รูปที่ 1. ตัวอย่างขั้นตอนการทำงานของ web service
ที่มาภาพ
http://www.9experttraining.com/sites/default/files/content_types/training_course/web-service-2.jpg

                เทคโนโลยี web service สามารถสนับสนุนธุรกิจการกวดวิชา คือ
                1.เป็น Open Standard  ง่ายในการพัฒนาโปรแกรม โดยการ implement Web Services   
                2.พันธมิตรทางการค้าสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา โดยการค้นหาจาก
UDDI
                3. การดำเนินธุรกิจการค้าและบริการสามารถเป็นไปได้แบบอัตโนมัติในระดับของ Application to Application (A2A) โดยการแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านทาง Web Services 
                4. Web Services สามารถใช้เป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินธุรกิจตามเฟรมเวิร์คของ ebXML
              5.ง่ายต่อการนำไปใช้งานเนื่องจากในปัจจุบันมีเครื่องมือมากมายที่ใช้ช่วยเหลือในการพัฒนา Web  Services  
                6.ลดต้นทุนในการพัฒนาระบบบางอย่างที่ไม่จำเป็นโดยขอบริการจาก
Web Services ของพันธมิตรทางการค้า
                7. การพัฒนาประสิทธิภาพในการประสานงานระหว่างองค์กรและการทำงานเป็นทีม เพื่อให้ทุกส่วนที่เกี่ยวข้องมีทิศทางในการดำเนินการเดียวกัน (
Direction) การดำเนินการอย่างรวดเร็ว (Speed) การดำเนินงานอย่างโปร่งใส (Transparency) และความรับผิดชอบ (Responsibility) 
                8. สาขาต่างๆมีการเรียกใช้ข้อมูลจากสาขาอื่นๆ เป็นเครื่องมือหรือรูปแบบการทำงานขององค์กร ในกรอบการบริหารแบบบูรณาการ
                9. ง่ายต่อการนำไปใช้งานเนื่องจากในปัจจุบันมีเครื่องมือมากมายที่ใช้ช่วยเหลือในการพัฒนา
Web Services  เนื่องจากรูปลักษณ์รูปแบบในการใช้งาน เหมือนหรือใกล้เคียงกัน ในทุกๆเครื่องมือ  เนื่องจากเครื่องมือต่างๆ ดึงข้อมูลไปจาก Web Service เดียวกัน ทำให้ผู้ใช้มีความคุ้นเคยใช้งานได้ง่ายๆ กับทุกๆ เครื่องมือ
                10. ลดต้นทุนในการพัฒนาระบบบางอย่างที่ไม่จำเป็น

                2. Cloud computing 
               
Cloud Computing (การประมวลผลแบบก้อนเมฆ )คือ การพัฒนาและใช้งานเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่มีการประมวลผลอยู่ในระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งคำว่าก้อนเมฆนั้นเป็นอุปมาของระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งสามารถสังเกตได้จากการที่มีการวาดรูประบบอินเทอร์เน็ตด้วยรูปก้อนเมฆ รูปแนวคิดของ Cloud computing ดังรูปที่ 2

รูปที่ 2 แนวคิดของ Cloud computing
ที่มาภาพ
: http://www.slideshare.net/imcinstitute/cloud-computing-19987871
               การเชื่อมต่อของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นการซ่อนโครงสร้างซับซ้อนที่อยู่ภายในของระบบอินเทอร์เน็ตการประมวลผลแบบก้อนเมฆ เป็นรูปแบบของการประมวลผลที่ความสามารถในการทำงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลสารสนเทศจะมีการจัดสรรในรูปแบบของบริการ   (as a service) ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงบริการต่างๆ จากระบบอินเทอร์เน็ตได้โดยไม่ต้องมีความรู้หรือความเชี่ยวชาญหรือมีความสามารถในการควบคุมโครงสร้างทางเทคโนโลยีที่ให้บริการแก่ผู้ใช้งาน ซึ่งข้อมูลสารสนเทศจะถูกเก็บบันทึกบนเครื่องแม่ข่ายบนระบบอินเทอร์เน็ต และมีการสำรองไว้ชั่วคราวในรูปแบบของแคช (cache) บนเครื่องลูกข่ายซึ่งได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ คอมพิวเตอร์โน้ตบุค  อุปกรณ์พกพา โทรศัพท์มือถือ และอื่น ๆ
               
 
เทคโนโลยี Cloud computing  สามารถสนับสนุนธุรกิจการกวดวิชา คือ
1. ในด้านการจัดทำและใช้งานระบบ  การจัดสร้างและการใช้งานระบบ Application ต่าง ๆ  สามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว ใช้เวลาน้อย ยืดหยุ่นในการใช้บริการ สามารถปรับเพิ่ม ลด Resource บน Cloud ได้ตามความต้องการโดยไม่ต้องวุ่นวายเรื่องระบบ และไม่จำเป็นต้องเสียเงินซื้อ Hardware เพิ่มเติม          
2.  ในด้านการลงทุน มีค่าใช้จ่ายและใช้งบประมาณในการจัดทำระบบต่ำ
3.  ในด้านการใช้งานระบบ การใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยผ่าน Internet ซึ่งมีข้อจำกัดด้านพื้นที่น้อย และสามารถใช้อุปกรณ์ลักษณะต่าง ๆ ได้หลากหลาย เช่น  Mac  , Windows PC , Desktop computer , Laptop  ,Touch screen , iPhone,  iPad ,iPod Touch ,Android phones, Android tablets, Blackberry devices,Windows Phone เป็นต้น
4.  ในด้านการปรับปรุงระบบ สามารถจัดทำโปรแกรมเสริมหรือเพิ่มเติมขึ้นเองได้โดย Provider ที่ให้เราเช่าใช้พื้นที่ และสามารถเลือกใช้บริการเสริม เช่น
Additional Storage    200 บาท / 50 GB / เดือน
ค่า Public IP address 200 บาท / IP address / เดือน
5.  หากต้องการใช้ Public cloud ก็ยังมีบริการฟรีของที่อื่นๆ ที่เราสามารถจะแชร์ข้อมูลให้กับนักเรียน หรือสาขาอื่นๆๆในการใช้งานได้ 


       
                              รูปที่ 3 แสดงตัวอย่าง Public Cloud
ที่มาภาพ : http://www.slideshare.net/imcinstitute/cloud-computing-19987871

6.  มีความปลอดภัยสูง     ไม่ต้องกังวลเรื่องระบบล่ม หรือกลัวการโดนแฮกเกอร์เข้ามาป่วน ระบบ Cloud ให้มีความปลอดภัยสูงโดยใช้ระบบ Firewall, Backup และระบบความปลอดภัยที่ได้รับมาตรฐานสากล

                3. Knowledge Management
                การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ
          1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม
          2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม
                    ในยุคที่เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทกับสังคม สถาบันการศึกษาก็เป็นอีกองค์กรหนึ่งที่ให้ความสำคัญ ถึงแม้จะเป็นโรงเรียนกวดวิชา  ในส่วนของระบบศึกษาจึงต้องเน้นในเรื่องการจัดการความรู้ (Knowledge Management) มากกว่าเน้นการจัดการสารสนเทศ (Management of Information Technology) เพื่อที่จะสามารถบรรลุเป้าหมายของการเป็นแหล่งองค์ความรู้และองค์กรในการถ่ายทอดความรู้ สถาบันการศึกษาสามารถ นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ เพื่อบรรลุเป้าหมายได้หลายรูปแบบ เช่น การใช้เทคโนโลยีเว็บในการเผยแพร่ความรู้ Search Engine ใน การค้นหาข้อมูลที่ต้องการระบบฐานข้อมูลในการเก็บองค์ความรู้ ระบบวิดีโอคอนเฟอเรนต์ในการถ่ายทอดความรู้ทางไกล ในปัจจุบันมีสถาบันการศึกษา หลายแห่งนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยสนับสนุนในโครงการต่าง ๆ เช่น eUniversity, eLibrary, eClassroom, eLearning หรือ Itcampus เป็นต้น ฐานข้อมูลสำหรับอ้างอิงที่เป็นประโยชน์อย่างมากในการเรียนและวิจัย
                เทคโนโลยี Knowledge Management สามารถสนับสนุนธุรกิจการกวดวิชา คือ
                1. เพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและความอยู่รอดและสามารถแข่งขันกับสถาบันกวดวิชาอื่นๆได้  และเป็นการลงทุนทางทรัพยากรบุคคล การเพิ่มความสามารถในการแข่งขันการเรียนรู้ร่วมกัน
                2. ป้องกันการสูญหายของภูมิปัญญา ในกรณีที่บุคลากรเกษียณอายุ ลาออก หรือเสียชีวิต 
                3. เป็นการลงทุนในต้นทุนมนุษย์ ในการพัฒนาความสามารถที่จะแบ่งปันความรู้ที่ได้เรียนรู้มาให้กับคนอื่นๆ ในองค์กร และนำความรู้ไปปรับใช้กับงานที่ทำอยู่ให้เกิดประสิทธิผลมากยิ่งขึ้นเป็นการ พัฒนาคนและพัฒนาองค์กร 
                4. ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการตัดสินใจและวางแผนดำเนินงานให้รวดเร็ว และดีขึ้น เพราะมีสารสนเทศ หรือแหล่งความรู้เฉพาะที่มีหลักการ เหตุผลและน่าเชื่อถือช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ
                5. ผู้บังคับบัญชาสามารถทำงานเชื่อมโยงกับผู้ใต้บังคับบัญชาให้ใกล้ชิดกันมากขึ้น ช่วยเพิ่มความกลมเกลียวในหน่วยงานหรือระหว่างสาขาในโรงเรียนกวดวิชาด้วยกัน  
                6
. เมื่อพบข้อผิดพลาดจากการปฏิบัติงาน ก็สามารถหาวิธีแก้ไขได้ทันท่วงที 
                7. แปรรูปความรู้ให้เป็นทุน ซึ่งเป็นการสร้างความท้าทายให้องค์กรผลิตสินค้าและบริการจากความรู้ที่มี เพื่อเพิ่มคุณค่า และรายได้ให้กับองค์กร
                8. เพื่อการสร้างสรรค์ เปลี่ยนวัฒนธรรม จาก วัฒนธรรมอำนาจ / แนวดิ่ง สู่ วัฒนธรรมความรู้ / แนวราบ 
                9. การจัดการความรู้ช่วยให้องค์กรมีความเข้าใจลูกค้า แนวโน้มของการตลาด และการแข่งขันทำให้เพิ่มโอกาสในการแข่งขันกับสถาบันอื่นๆที่เป็นคู่แข่งขันในตลาด
                10
. การพัฒนาทรัพย์สินทางปัญญาเป็นการพัฒนาความสามารถขององค์กรในการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาที่มีอยู่ เป็นการยกระดับผลิตภัณฑ์ การนำการจัดการความรู้มาใช้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและบริการ 
                11. การบริหารลูกค้า การศึกษาความสนใจและความต้องการของลูกค้าจะเป็นการสร้างความพึงพอใจและเพิ่มยอดนักเรียนในสถาบันกวดวิชาได้
                 

ยุทธศาสตร์และโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที

ยุทธศาสตร์และโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที
          สมมติว่ามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งกำหนดยุทธศาสตร์หนึ่งไว้ว่า “นำ ICT มาใช้ในการสอนการเรียนระดับปริญญาออนไลน์ หรือการเรียนผ่านอินเทอร์เน็ตด้วยเว็บ (Web-Based Education: WBE) เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของการศึกษาระดับภูมิภาคอาเซียน” หากท่านเป็น CIO (Chief Information Officer) และเป็นหนึ่งในทีมคณะกรรมการบริหาร ICT ของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่ายุทธศาสตร์ดังกล่าวนั้นจะสามารถปฏิบัติได้และจะประสบความสำเร็จ
จงวิเคราะห์และเสนอแนวทางในการนำความรู้ที่ท่านได้ศึกษาจากหน่วยที่ 8 และหน่วยที่ 9 เข้ามาประยุกต์ในการบริหารจัดการและดำเนินการได้อย่างไรบ้าง
โดยแบ่งประเด็นที่ให้วิเคราะห์และนำเสนอ คือ
1. โครงสร้างพื้นฐานด้านไอที
2. ยุทธศาสตร์ไอทีที่นำมาประยุกต์

ตอบ
1.    โครงสร้างพื้นฐานด้านไอที
     การพิจารณาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านไอที เราต้องสำรวจสถานภาพและสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัย ในด้านความพร้อม การใช้งาน และสถานการณ์ที่เป็นภัยคุกคามต่อมหาวิทยาลัย สามารถประมวลสรุปสถานภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ต้องศึกษา ดังนี้

สถานภาพด้านอุปกรณ์ ICT  โดยการพิจารณาโครงสร้างพื้นฐานไอที สามารถแบ่งออกได้เป็น  2 ส่วน ได้แก่
1.1 โครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีภายใน เช่น ด้านอุปกรณ์ ซอฟต์แวร์ และโครงข่ายด้าน ICT ต้องพิจารณาในส่วนต่างๆ คือ 
     -  ชั้นอุปกรณ์พื้นฐาน ประกอบด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เครื่อง Server เครื่องพิมพ์ เครื่องควบคุมการสื่อสารข้อมูล รวมทั้งระบบซอฟต์แวร์ต่าง ๆ เช่น ระบบควบคุมปฏิบัติงาน ระบบบริหารฐานข้อมูล และอื่น ๆ
     -  ชั้นของระบบไอทีที่บริการให้ใช้ร่วมกันทั้งองค์กร (shared IT services) เป็นการนำกลุ่มอุปกรณ์พื้นฐานมาจัดทำให้เป็นรูประบบที่สามารถบริการได้ เช่น ระบบฐานข้อมูลลูกค้า หรือฐานข้อมูลพนักงานที่แบ่งกันใช้ได้ หรือระบบอินทราเน็ตที่ให้พนักงานใช้บริการสื่อสารและค้นหาข้อมูลได้ทั่วทั้งองค์กร เป็นการเพิ่มระบบซอฟต์แวร์พื้นฐาน ทำให้อุปกรณ์พื้นฐานให้บริการไอทีที่ใช้ร่วมกันได้
     -  ชั้นของระบบงานที่ให้บริการด้วยงานมาตรฐานที่จำเป็นต้องใช้ทั้งองค์กร เช่น ระบบบัญชี ระบบบริหารบุคลากร ระบบบริหารงบประมาณ เป็นระบบงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ที่ทุกหน่วยงานจำเป็นต้องใช้ ระบบงานเหล่านี้ จัดเป็นระบบงานของส่วนกลางที่ให้ใช้ร่วมกัน (shared and standard IT applications) เป็นการเพิ่มชั้นแอปพลิเคชัน เพื่อทำงานเฉพาะทางขององค์กร
 
1.2 โครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีภายนอก เช่นสถานภาพด้านโครงข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารภายนอกมหาวิทยาลัย

2. สถานภาพด้านการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยการประเมินสภาพแวดล้อมทางด้านไอทีที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เช่น
•    ประเมินสภาพเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบสารสนเทศ
•    พิจารณากลยุทธ์นโยบายปัจจุบันและอดีต
•    การจัดองค์กรของแผนกไอทีและกระบวนการทำงาน
•    สินทรัพย์ ทรัพยากร และความเชี่ยวชาญที่มีอยู่ในปัจจุบัน
•    วิธีการในการพัฒนาระบบและฝึกอบรม

3. สถานภาพบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งต้องพิจารณาโดยแบ่งเป็นพนักงานในระดับ
     3.1 ระดับผู้บริหาร
     3.2 ระดับผู้ปฏิบัติงาน
ว่ามีความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมาน้อยเพียงใดโดยอาจพิจารณาตามหัวข้อ เช่น
-  ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้และบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์
-  ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับฐานข้อมูล
     -  ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ Internet
-  การใช้งานซอฟต์แวร์พื้นฐาน
-  การใช้งานซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะด้าน

4. สถานภาพด้านการผลิตและพัฒนาแบบเรียน ตำรา สื่อสิ่งพิมพ์และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มีความพร้อมทางด้านการผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์ มัลติมีเดียเพียงพอตามความต้องการหรือไม่  และสื่ออิเล็กทรอนิกส์สามารถอ่านผ่านคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต หรือโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ทั้งในระบบออฟไลน์และออนไลน์ ได้หรือไม่ เพื่อให้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์จำนวนมากที่จะถูกผลิตขึ้นเกิดประโยชน์ได้อย่างแท้จริง ควรคำนึงถึงการสร้างโอกาสการรับรู้ และการกระจายข้อมูลข่าวสารอย่างทั่วถึง ทัดเทียมกันสำหรับทุกกลุ่มคนในสังคมให้เข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้

2.   ยุทธศาสตร์ไอทีที่นำมาประยุกต์
   สำหรับยุทธศาสตร์ที่จะทำให้ยุทธศาตร์ที่ทางมหาวิทยาลัยกำหนดคือ “นำ ICT มาใช้ในการสอนการเรียนระดับปริญญาออนไลน์ หรือการเรียนผ่านอินเทอร์เน็ตด้วยเว็บ (Web-Based Education: WBE) เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของการศึกษาระดับภูมิภาคอาเซียน” สำเร็จได้นั้น ยุทธศาตร์ทางด้านไอทีที่นำมาใช้คือพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการเรียนกาสอน และการวิจัยและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ยุทธศาสตร์ที่ 1    พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการเรียนกาสอน และการวิจัย
วัตถุประสงค์ / เป้าประสงค์
     1. มีระบบ e-Learning  (VDO streaming, Courseware ตามหลักสูตรที่คณะต้องการทำในรูป e-learning)  
     2. มีระบบบริหารจัดการด้านการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Learning Management System) เพื่ออำนวยความสะดวกในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 
     3. มีระบบการเรียนการสอนทางไกล หรือห้องเรียนเสมือน (Virtual Classroom)  และการเรียนรู้ด้วยตนเองในรูปแบบวีดิทัศน์ตามประสงค์ (Video On Demand)
     4. พัฒนาแหล่งเรียนรู้ที่ทันสมัย เพื่อการเรียนรู้ เช่นระบบห้องสมุด e-Library, ระบบพิพิธภัณฑ์ เสมือน (e- Museum) และชุมชนอิเล็กทรอนิกส์ e-Community
     5. พัฒนาแหล่งเรียนรู้ เพื่อการวิจัย เช่น ฐานข้อมูลงานวิจัย และระบบฐานข้อมูลมีความถูกต้อง มีการจัดทำ VDO เพื่อเผยแพร่การประชุมทางวิชาการ การแถลงข่าวผ่านเว็บ และต้องเชื่อถือได้ ทันสมัยใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงได้
     6. มีระบบสารสนเทศเพื่อการบริการและบริหารการศึกษา (ร่วมกับสำนักทะเบียน)
    7. มีระบบสารสนเทศเพื่อการประเมินผลการสอน

กลยุทธ์
    1.  พัฒนาระบบการเรียนรู้ผ่านเครือข่าย (e-Learning)
    2.  พัฒนาระบบห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (e-Library)
    3.  พัฒนาระบบพิพิธภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Museums)
    4.  พัฒนาชุมชนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Community)
    5.  สร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษาและ
               วิจัย
ตัวชี้วัด
1.    จำนวนสื่อการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ที่ผลิต
2.    จำนวนหลักสูตรที่ให้เรียนรู้ผ่านระบบ
3.    จำนวนรายวิชาที่มีให้บริการในระบบ
4.    จำนวนโครงการที่จัดฝึกอบรม หลักสูตรและผลิตสื่อ  การสืบค้นข้อมูลโปรแกรมประยุกต์ที่ใช้ในการเรียนการสอนและการวิจัย
5.    จำนวนผู้เข้าใช้งานระบบพิพิธภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Museum)
6.    จำนวนผู้ใช้งานระบบห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (e-Library)
7.    ความพึงพอใจของการใช้ระบบต่าง ๆ จากนักศึกษาและบุคคลากร


ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
วัตถุประสงค์ / เป้าประสงค์
1.    มีโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การสื่อสารและโทรคมนาคมภายในมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพ และสามารถเชื่อมโยงเครือข่ายไปยังหน่วยงานต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัยอย่างทั่วถึง
2.    พัฒนาระบบการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจากภายนอก ให้มีประสิทธิภาพ
3.    พัฒนาระบบความปลอดภัยของระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ
4.    พัฒนาระบบรักษาความปลอดภัยสาธารณะขององค์กรผ่านระบบเครือข่าย
5.    มีระบบบริการ e-Service เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและขยายช่องทางการให้บริการ นิสิต บุคลากรของมหาวิทยาลัย  ให้สามารถเข้าถึงบริการได้ทุกที่  ทุกเวลา
6.    มีการพัฒนาระบบสำรองข้อมูลแบบคู่ขนาน (Replicate Site) เพื่อช่วยลดปัญหาและความเสี่ยงด้านการให้บริการระบบสารสนเทศ
7.    มีอุปกรณ์ ICT ครบในทุกห้องเรียน
กลยุทธ์   
1.    พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ICT เพื่อยกระดับการศึกษาด้านเครือข่ายและด้านการจัดการ
2.    สร้างมาตรฐานความปลอดภัยของระบบสารสนเทศของระบบสารสนเทศและความปลอดภัยสาธารณะ
3.    พัฒนาระบบการให้บริการด้าน ICT อย่างมีประสิทธิภาพ

ตัวชี้วัด
1.    มีแผนพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการกำกับดูแลตามกรอบนโยบายของมหาวิทยาลัย
2.    มีการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายภายในมหาวิทยาลัย เชื่อมต่อระหว่างวิทยาเขตและเครือข่ายภายนอกมหาวิทยาลัยอย่างมีประสิทธิภาพ
3.    มีการดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
        พ.ศ. 2550
4.    มีการประชุมอบรมสัมมนาของผู้ดูแลระบบไม่น้อยกว่า 2 ครั้งต่อปี
5.    มีการปรับปรุง และทบทวนแผนให้เหมาะสมทุกปี
6.    มีระบบเส้นทางสื่อสารอินเทอร์เน็ต และมีสวิตซ์สำรองกรณีวงจรหลักขัดข้องเพื่อการบริการที่มีประสิทธิภาพ
7.    ให้บริการระบบเครือข่ายไร้สาย โดยมีระบบรักษาความปลอดภัยของระบบเครือข่ายครอบคลุมทุกพื้นที่และมีประสิทธิภาพ
8.    มีการพัฒนาระบบสำรองข้อมูลแบบคู่ขนาน (Replicate Site) เพื่อช่วยลดปัญหาและความเสี่ยงด้านการให้บริการระบบสารสนเทศและมีระบบสำรองข้อมูล เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่เกิดขึ้น

Login Line for PC ไม่ได้

         ผมเคยเขียนไว้เรื่อง ลืม Password LINE ทำไงดี? ( If you forget your LINE's password)
แต่ก็ยังมีบางท่าน ไม่สามารถเข้าไปใช้ได้ เช่นที่มีคำถามมาบ่อยๆก็คือ e-mail และ Password ก็ถูกต้อง หรือลงทะเบียน e-mail ไว้แล้ว แต่ไม่สามารถมา login ใน PC ได้ นั่นอาจจะเป็นเพราะว่า ท่านไปเอาเครื่องหมายยอมให้ล็อกอินใน App ออก ซึ่งเมื่อไปเข้ากับ PC ก็จะเจอข้อความแบบนี้ ( เพียงแต่บางท่านไม่ได้อ่าน หรือไม่ได้สังเกตุ)

โดยวิธีการปิด หรือเปิด ก็ให้เข้าไปที่ ตั้งค่า > บัญชี > ยอมให้ล็อกอิน 

โดยเมื่อเราเลือกแล้ว มันก็จะมีเมนู "ตัวจัดการอุปกรณ์" เพิ่มเข้ามา ซึ่งเจ้าหัวข้อนี้ เราก็สามารถจัดการอุปกรณ์ PC ตัวที่เราไป login ไว้ได้ด้วย สามารถอ่านเพิ่มได้ที่ ทำไงดีลืม logout LINE บน PC


ต้มยำปลารสแซ่บ

                                                   ต้มยำปลารสแซ่บ
เครื่องปรุง
1. ปลาหั่นเป็นชิ้น (แล้วแต่ชอบเนื้อปลาอะไร ปลานิล ปลาช่อน ปลาทับทิมฯลฯ)
2. เห็ดฟาง
3. ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด
4. พริกสด
5. เกลือป่น
6. มะนาว
7. มะเขือเทศ (หั่นเป็นชิ้น)

วิธีทำ
1. ตั้งหม้อให้น้ำพอเดือดใส่ตะไคร้


ตามด้วยข่าหั่นเป็นชิ้น


ใส่เกลือประมาณ 2 ช้อนชา


2. โขลกพริกสดใส่ตามชอบ (ชอบเผ็ดก็ใส่เยอะหน่อย)  
ตามด้วยน้ำมะนาวสัก 2 ลูก ค่อยๆใส่ อย่าให้เปรี้ยวเกิน เดี๋ยวจะแก้ไขลำบาก หากยังไม่เปรี้ยวก็เพิ่มมะนาวตามที่หลังได้ 



จากนั้นก็ตามด้วยมะเขือเทศและเห็ดฟาง



3. รอให้หม้อเดือดเต็มที่ ใส่เนื้อปลาลงไป (ใส่เนื้อปลาแล้วห้ามคนหม้อนะคะ นอกจากจะทำให้เนื้อปลาเละ อาจทำให้มีกลิ่นคาวได้)
รอให้เนื้อปลาสุกใส่ใบมะกรูด ก็เป็นอันเสร็จสิ้น


ง่ายๆเท่านี้คุณก็จะได้กินต้มยำปลารสแซ่บ แบบง่ายๆ แต่รสชาติอร่อยแน่นอนคะ



ทดสอบซิม 365 Mobile ผู้ให้บริการ 3G รายที่ 4 ของไทย

         หลังจากที่ 365 ผู้ให้บริการ 3G แบบ MVNO ให้บริการโดย ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมเลขที่ 1/52/025 บนโครงข่าย CAT3G ความถี่ 850MHz ได้เปิดให้รับซิมฟรี เมื่อวานก็มี sms และ e-mail เข้ามาแจ้งว่าได้จัดส่ง sim card มาให้เรียบร้อยแล้ว

 

แล้ววันนี้ 20/6/2557 ผมก็ได้รับซิมเรียบร้อย โดยส่งมาเป็นพสดุ EMS ซะด้วยครับ
ไม่รอช้า จัดการแกะซิมออกมาดู เปิดมาเจอข้อความ "ซิมนี้ไม่ได้ทำขึ้นเพื่อปกป้องโลก แต่ใช้ CHANGE โทรศัพท์ของคุณให้เป็น Super Phone " จากนั้นถ้าเราต้องการทดสอบการใช้งาน  โดยต้องเข้าไปเปิดใช้งานที่ www.365.co.th/go 

ตัวซิมเอง ทำร่องเพื่อใช้ได้ทั้ง mini SIM / micro SIM และ nano SIM เลยครับ

 
 หลังจากเราเข้ามาที่หน้าเว็บเพื่อเปิดใช้งานซิม ก่อนกื่นก็ต้องดู ID1 และ ID2 ที่อยู่ด้านหลังเพื่อมากรอก 
เจอข้อความต้อนรับ "การเริ่มต้นคือสิ่งยิ่งใหญ่ เมื่ออยากได้สิ่งที่ไม่เคยมีมาก่อน ต้องลงมือทำสิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อน กรอกหมายเลขบนซิมเพื่อลงทะเบียนเลือกเบอร์โทร "เอา ID ทั้งสองมากรอกในเว็บได้เลยครับ 

 
 จากนั้นระบบจะให้เราทำการเลือกเบอร์ ซึ่งน่าจะเป็นเลขสุ่มมาให้เราได้เลือกเพียง 50 เบอร์ เมื่อเลือกได้เบอร์ทีถูกใจก็กด NEXT ไป

 จะพบหน้าจอแสดงข้อความว่า หมายเลขที่เราเลือกได้ทำการเปิดเรียบร้อยแล้ว (หากเลือกแชร์ไปที่ Facebook ก็ได้ ถ้าไม่แชร์ก็ปิดไป )

ปกติคนที่ได้รับซิม ก็คือคนที่ลงทะเบียนขอรับซิมไว้ จะมีรหัสสำหรับเข้าเช็คยอด ซึ่งซิมนี้เป็นซิมเติมเงินแบบฟรี 7 วันครับ ถ้าจะใช้ต่อก็คงต้อไปเติมเงินเข้าระบบก่อน 


เมื่อเปิดเบอร์เรียบร้อยแล้ว ก็มาดูที่เครื่องโทรศัพท์กัน ซักครู่จะมีข้อความ "ยินดีต้อนรับสู่ 365 Mobile " แต่ข้อความจะเผ็นผู้ส่งจาก my ( my ของ CAT ) ซึ่งไม่แน่ใจว่าอนาคตจะเปลี่ยนเป็นของ 365 เองไหม


 ผมลองเ็คดู ปรากฏว่ามีเงินให้โทรฟรี 6000 วินาที ( 100 นาที) SMS 20 ข้อความ แต่ data นี่ไม่ได้ระบุไว้ ว่าให้เท่าไร

แต่พอไปดูที่หน้า Facebook page ที่เค้าบอกมาว่าได้แค่ 50 นาที sms 20 และ internet 2GB
 

ในส่วนการตั้งค่า APN เนื่องจากผมใช้ของ my อยู่ก่อนหน้า มันสามารถใช้ได้เลย ไม่ต้องตั้งค่าใหม่ครับ

แต่ถ้าใครใช้ของค่ายอื่น ก่อนใช้งานต้องตั้งค่าตามรูปครับ
1. ซ้ายมือ สำหรับคนเปิดซิมแล้ว ยังใช้งานไม่ได้ ลองค้นหาเครือข่าย แล้วเลือก 365-H
2. ขวามือ ตั้งค่า Name เป็น 365 , APN เป็น internet  (ส่วนเมนูการเข้าก็แตกต่างไปตามยี่ห้อโทรศัพท์ แต่คล้ายๆกัน ถ้าใช้เล่นเน็ตอยู่แล้ว น่าจเข้าไปตั้งค่าได้ครับ)


ลองทดสอบเปิด internet ดูปรากฏว่า ใช้งานได้ครับ ผมก็เลยลองทดสอบความเร็วดู โชคดีที่ผมมีคราบทั้ง 3 ค่าย Truemove-H , my by CAT และ 365 โดยรุ่นมือถือที่ใช้ทดสอบก็เป็น Sony Xperia J ครับ
(หมายเหตุการทดสอบความเร็วนี้ ทดสอบในช่วงเวลาใกล้ๆ กัน โทรศัพท์เครื่องเดียวกัน และพื้นที่ในการทดสอบที่เดียวกัน เป็นการทดสอบการใช้งานของผู้ใช้เท่านั้น ไม่ได้มีเจตนาอันอื่นใดๆทั้งสิ้น)

พื้นที่ที่ใช้ทดสอบครับ
ความเร็วที่ได้ ดังภาพครับ ก็น่าพอใจอยู่ระดับนึงนะครับ แต่การใช้งานอื่นๆ โทรเข้าออก ลองเปิด youtube ดูก็ยังนิ่งดี ไม่มีปัญหา แต่นี่คงต้องรอดูสักระยะว่จะเป็นยังไงบ้าง ทั้งการโทร การใช้เน็ต การใช้ sms ต่างๆ (จะมี sms ขยะเหมือนค่ายอื่นๆไหมนะ 55 )


วันที่ 20/6/2557 เวลา 18.50 ผมลองทดสอบอีกครั้ง แต่ตอนนี้มาใช้ Air Card (Huawei)


วันนี้ได้ออกมาข้างนอก เลยทดสอบต่อได้ 3 ที่ดังนี้ครับ
1. แถวประตูน้ำ ซอยราชปรารภ 8


2. หน้าสยามพารากอน


3.ตึก CAT Tower บางรัก


ในส่วนตัว คิดว่า
1. ในส่วนตัวซิมที่ส่งมา ไม่มีรายละเอียดแนบการใช้งาน หรือคู่มือเล็กๆเหมือนค่ายอื่นๆ เช่น การเช็คยอด การเติมเงิน และอื่นๆ ซึ่งต้องไปเปิดดูในอินเตอร์เน็ตอีกครั้ง 
2. จริงๆควรจะให้สามารถ active ใช้งานกับเครื่องมือถือได้เลย
3. เรื่องโปรดมชั่นตอนหมดทดลองใช้ 7 วันยังไม่ชัดเจน และในเว้บก็ยังไม่มีรายละเอียดอะไร 

วันที่ 27/6/2554 เพิ่มเติมข้อมูลนะครับ
จากตอนแรกที่แจ้งว่าฟรี 7 วันซึ่งซิมที่ผมได้รับก็จะหมดอายุวันนี้ ก็เลยลองเข้าไปดูในเว็บ ก็ยังไม่มีการ update โปรโมชั่นใดๆทั้งสิ้น ซักพักตอนเย็นมีข้อความมาแจ้งว่า (ครั้งนี้ชื่อผู้ส่งของผมเปลี่ยนแล้วครับ เป็น 365OTP ตอนเปิดซิมใหม่ๆ ยังขึ้นเป็น my)

 
 

แถมทดสอบความเร็วตอนวันที่ 7 หลังจากได้ซิมมา


ยังไงก็ลองหามาทดสอบกันดูนะครับ อาจจะเป็นทางเลือกใหม่อีกทางเลือกหนึ่งและคงต้องรอดูโปรโมชั่นต่อไป ว่าจะดึงดูดลูกค้าแค่ไหนครับ

UPDATE 
วันที่ 1 กรกฎาคม 2557 เวลา 16.00 น. หน้าเว็บยังไม่มีโปรโมชั่นใดๆออกมาทั้งสิ้น
วันที่ 2 กรกฎาคม 2557 มีสัญญาณปกติ โทรเข้าออกได้ปกติ แต่ internet ใช้งานไม่ได้ตั้งแต่เช้า ขณะนี้เวลา 13.30 น. ไม่มีการแจ้งอะไรมา เข้าไปดูในเว็บไม่มี update อะไรทั้งสิ้น

วันที่ 4 กรกฎาคม 2557 เวลา 10.30 น. มีข้อความมาดังนี้
365 ขอบคุณที่ร่วมทดสอบระบบเราขอตอบแทนด้วยการขยายวันทดสอบให้ Data 2GB โทร 50 นาที SMS 20 ครั้งเพื่อใช้งานอีก 7 วัน

 แต่ลอง connect internet ดูก็ยังเล่นไม่ได้ครับ แต่ประมาณ 11.10 น. กลับมาเล่นได้ และเข้าไปดูโปรโมชั่น ก็ยังไม่ออกมาเช่นเดิมครับ 

วันที่ 11 กรกฎาคม 2557  โปรโมชั่น ก็ยังไม่ออกมาเช่นเดิมครับ แต่ในเว็บ เรา log in เข้าไปมีข้อมูลเพิ่มเติมให้ดู เป็นข้อมูลการใช้งานและปรัวัติการสั่งซื้อ ซึ่งก็ยังไม่มีรายละเอียดอะไรให้ดูมาก 



วันที่ 14 กรกฎาคม 2557 เข้าไปดูที่ https://www.365.co.th/promotion 
มีออกโปรมาแล้วครับ แต่ดูๆแล้ว คาดว่าหลายคนคงไม่เป็นอย่างที่คิด ลองมาดูคร่าวๆ 





  เดี๋ยวครั้งหน้าจะลองเติมเงินดูครับ ติดตามได้ที่  วิธีเติมเงิน 365 Mobile   
Advertisement