แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ Document แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ Document แสดงบทความทั้งหมด

การตั้งค่าฟอนต์ (Font) เริ่มต้นให้โปรแกรม Microsoft Word 2010,2013 และ 2016

         งานเอกสาร ส่วนมากเราก็จะใช้โปรแกรมยอดฮิตอย่าง Microsoft World ในการพิมพ์งาน เอกสารต่างๆ แต่บางคนจะเจอปัญหาถึงจะเป็นปัญหาที่ไม่ใหญ่ แต่มันก็อาจจะทำให้หยุดหงิดในบางครั้ง คือ เมื่อเราเปิดโปรแกรมขึ้นมาแล้วมันไม่ใช่ฟอนต์ที่เราต้องการ อย่างงานเอกสารราชการก็ต้องใช้ TH SarabunPSK แต่โปรแกรมมันไปตั้งฟอนต์อื่นเป็นค่าเริ่มต้น เราก็ต้องคอยเปลี่ยนตลอดเมื่อจะพิมพ์เอกสารใหม่
         วันนี้จะมีบอกวิธีการตั้งค่าฟอนต์มาตรฐานให้ Word เริ่มต้นด้วยฟอนต์ที่เราต้องการเป็นฟอนต์เริ่มต้นทุกครั้ง

1. เปิดโปรแกรม Microsoft Word ขึ้นมา (ตัวอย่างในบทความนี้ใช้ Microsoft Word 2010 ซึ่งในเวอร์ชั่นอื่นๆก็ทำลักษณะเดียวกัน)

2. จากนั้นทำการเลือกฟอนต์ที่ต้องการ เช่นในที่นี้เมื่อเราเปิดโปรแกรมขึ้นมา มันจะโชว์ฟอนต์เริ่มต้นเป็น Cordia New (เนื้อความแบบ CS)

3. ทำการคลิกปุ่มสามเหลี่ยมเล็ก ๆ หรือกดปุ่ม Ctrl+D พร้อมกัน





4. ตั้งค่าฟอนต์ รูปแบบ และขนาดตัวอักษรตามต้องการ เช่นเราจะเลือกเป็น TH SarabunPSK
 ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และสามารถกำหนดลักษณะและขนาดของตัวอักษรได้ตามต้องการ และสามารถดูตัวอย่างได้จากช่อง แสดงตัวอย่าง



5. เมื่อตั้งค่าตามต้องการเรียบร้อยแล้ว กดปุ่ม "ตั้งเป็นค่าเริ่มต้น" มันจะขึ้นมาถามอีกครั้งว่า จะใช้เฉพาะเอกสารนี้ หรือ "เอกสารทั้งหมดที่มีพื้นฐานบนแม่แบบ Normal ใชช่หรือไม่" เราก็เลือกข้อนี้ ถ้าต้องการให้เป็นค่านี้ทุกครั้ง จากนั้นคลิก ตกลง



จากนั้นทดลองปิด และเปิดโปรแกรม Mocrosoft Word ขึ้นมาใหม่  จะเห็นว่าฟอนต์เริ่มต้นเป็นฟอนต์ที่เราตั้งไว้ก่อนหน้าแล้ว ทีนี้ก็ไม่ต้องคอยเปลี่ยนฟอนต์ตลอดเมื่อจะใช้งานครับ

การเปลี่ยนฟอนท์ในกล่องข้อความ Power Point ให้เหมือนกันทุกสไลด์

          สำหรับนักเรียนที่ทำรายงาน หรือคนทำงานที่ต้องใช้ Power Point ในการนำเสนองาน บางครั้งเราจะเจอปัญหาการต้องมานั่งเลื่อนดูเพื่อเปลี่ยนฟอนท์ทีละสไลด์ๆ ให้เหมือนกัน สำหรับคนที่ไม่ทาบ วันนี้มีเทคนิคกาเปลี่ยนทุกหน้าสไลด์ให้เหมือนกันแบบเวและง่ายๆ

1. ที่แถบเครื่องมือ หน้าแรก  (Home)  คลิก แทนที่ (Replace) 



2. เลือก แทนที่แบบอักษร (Replace Fonts)


3. จะได้หน้าต่างให้เาเลือกเปลี่ยนฟอนท์ เลือกรูปแบบฟอนท์แล้วคลิกแทนที่ (Replace) จากนั้น เราก็จะได้ทุกหน้าที่แบบอักษเหมือนกันแล้วครับ




  

คู่มือ (Manual) ใครคิดว่าไม่สำคัญ

          ต้องยอมรับว่าเป็นคนหนึ่งที่ไม่ชอบอ่านคู่มือต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื้่องใช้ไฟฟ้า , อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ  เช่นซื้อมือถือมาพอแกะกล่องก้จัดการเล่นซะก่อน เล่นๆไป อ้าวเข้าโหมดนี่ โหมดนั่นไม่ได้ นั่นแหละ จึงจะหยิบคู่มือขึ้นมาอ่าน
         จริงๆคู่มือนี่มันเข้ามามีบทบาทกับเราตั้งแต่ย่างเข้าชั้นเรียน (จริงๆมันตั้งแต่เด็กแหละครับ เพราะเกิดมาพ่อแม่ก็มีคู่มือเลี้ยงเรามาจากดรงพยาบาล 55 ) คู่มือนักเรียน ก็ใช้สำหรับกฎ ระเบียบ การลงละเทียน และอื่นๆอีกมากมาย ทุกระดับตั้งแต่อนุบาล - ปริญญาเอกก็เถอะ เชื่อว่าต้องมีคู่มือ นักเรียน/นักศึกษากันทุกคน
          จบเรียนจบจบพอมาเข้าทำงาน วันแรกก็เจอคู่มือพนักงาน คู่มืองานสำนักงานได้แก่ คู่มือบุคลากร คู่มือการปฏิบัติงาน คู่มือการปฏิบัติเฉพาะอย่าง คู่มือการทำโครงการ ฯลฯ ตลอดจนคู่มือการใช้เครื่องใช้สำนักงานต่างๆ คู่มือพวก ISO ต่างๆที่บริษัทนั้นๆได้รับ และอีกเยอะแยะ

 
          แต่มันจะมีประโยชน์มากๆ ตอนที่อุปกรณ์ชิ้นนั้นๆ มันเสีย หรือไม่ก็อุปกรณ์นั้นๆ เราใช้งานไม่เป็น แต่บางทีคู่มือก็เขียนอะไรที่ทำให้เรางงได้ หลายคน คงคิดว่าการใช้คู่มือมันเป็นเรื่องไม่สำคัญ และไม่น่าสนใจ  ..ความจริงแล้วมันสำคัญ แต่กลับไม่สนใจ จนกว่าจะเกิด "ปัญหา" แล้ว จึงจะกลับมาสนใจ เราจึงลองมาดูว่า ทำไมพนักงานอย่างเราๆ หรือคนทั่วไป จึงไม่ชอบอ่านคู่มือกัน
  1. ระบบการจัดเก็บคู่มือ หลังจากเปิดกล่องเอาของใช้ออกมาแล้ว คู่มือก็โดนยัดกลับเข้าไปไว้ในกล่องอีกครั้ง เช่นซื้อทีวีมาเครื่องหนึ่ง หรือดทรศัพท์มาเครื่องหนึ่ง เราๆ ท่านๆ ส่วนมากก้จะคิดว่าใช้เป้นอยู่แล้ว คู่มือไม่ต้องอ่านหรอก เก็บใส่ลังไว้ แล้วก็ไปอยู่ตามซอก เผลอพอรถรับซื้อของเก่าผ่านมา มันก็โดนขายไปพร้อมกล่องนั้นแล้ว
  2. คู่มือของข้าใครอย่าแตะ ส่วนมากเหตุการณ์นี้จะเจอในสำนักงาน ประมาณว่าคู่มือโดนเก็บรักษาไว้ในตู้ใส่กุญแจแน่นหนาโดยธุรการแผนก หรือผู้ที่รับมอบมา เมื่อคนอื่นจะหยิบมาอ่าน หรือหยิบมาศึกษาเมื่อเกิดเหตุการณืจำเป็นก็ไม่สามารถเอามาใช้งานได้
     
  3. รูปเล่มของคู่มือ คุ่มือบางอย่างก็หนาเตอะเกินไป จะหยิบเปิดดูที หรือเอากลับไปบ้านเพื่อศึกษาก็พกพาลำบาก ใครๆก็เลยไม่อยากจะหยิบมันมาอ่าน บางที่ก็เป็นเอกสารใส่แฟ้มที่ไม่สามารถแยกเอาออกมาได้ 


  4. คู่มือภาษาอังกฤษล้วน  อุปกรณ์บางอย่างก็มีเฉพาะภาษาอังกฤษล้วน ไม่มีภาษาไทยมาให้อ่าน บางเล่มภาษาอังกฤษอย่างเดียวไม่พอ ยังเป็นศัพทย์เฉพาะทาง เช่นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โทรคมนาคม หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในสำนักงาน ต้องให้ผู้ที่เชี่ยวชาญทำการแปลเป็นคู่มือภาาาไทยอีกรอบจึงจะอ่านกันเข้าใจ นี่ก็ทำให้คนไม่อยากจะอ่านคู่มือด้วยเช่นกัน

  5. คู่มือเป็นไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ พวก PDF / Word จะเห็นได้ว่าเดี๋ยวนี้หลายๆยี่ห้อที่ขายอุปกรณ์ละจดต้นทุนทางด้านกระดาษลง แล้วยัดคู่มือมาให้เราเป็นแผ่น CD/DVD แผ่นหนึ่ง ทีนี้ถึงเราจะมีคอมพิวเตอร์กันใช้ส่วนตัวหรือทำงานก็แล้วแต่ ก้จะไม่ค่อยเอามา copy ไว้ดูหรืออ่านกันมากนัก หรือ copy กันไว้แต่มันก้ยังอยุ่ในเครื่องเหมือนเดิมนั่นแหละ 55 แล้วอีกอย่าง เดี๋ยวนี้ Notebook รุ่นใหม่ๆ ก็ไม่มี CD/DVD drive มาแล้ว ทีนี้หากเราได้เป็น CD คู่มือมาก็ทำอะไรไม่ได้เหมือนกัน ส่วนมากก็เหมือนข้อ 1 ครับ ยัดลงกล่องไว้
  6. คู่มือไม่ทันสมัย/ไม่เป็นปัจจุบัน  ยกตัวอย่างง่ายๆ อย่างสมาร์ทโฟนที่เราใช้ๆกัน เช่นพวก Android os ตอนออกมาใหม่ๆ เครื่องมากับ Android เวอร์ชั่นหนึ่ง แต่สักพักก็ได้ update เป็นอีกเวอร์ชั่นหนึ่ง หน้าตาก็อาจจะเปลี่ยนไปในส่วนของโปรแกรมในเครื่อง (ถึงแม้จะคล้ายๆกัน) แต่บางครั้งผู้ใช้บางคนก็อ่านแล้วก็จะไม่เข้าใจในคู่มือนั้นแล้ว

    นี่ก็เป็นบางส่วนนะครับสำหรับเรื่องคู่มือ อย่าลืมว่าคู่มือต่างๆมีความสำคัญ อย่างน้อยเราก็ควรหยิบมันขึ้นมาอ่านก่อนใช้อุปกรณ์นั้นๆ หรือในการทำงานต่างๆ เราหยิบขึ้นมาศึกาาก่อน มันก็ทำให้เราทำงานผิดพลากลดน้อยลงครับ ^_^
Advertisement