แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ อาหารอีสาน แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ อาหารอีสาน แสดงบทความทั้งหมด

อาหารอีสานรสเด็ด “ก้อยหอยเชอรี่”

          ไปเหนือคราวนี้ อาหารอีกจานที่ผมได้ลองทานคือ “ก้อยหอยเชอรี่” ครับ หอยนี้จะใช้ หอยโข่งหรือหอยเชอรี่ก็ได้ แต่ในที่นี้ที่เค้าหามาได้เป็นหอยเชอรี่ครับ เห็นน่าอร่อยดี เลยขอวิธีทำมา มาดูกัน
เครื่องปรุงประกอบไปด้วย 
- หอยโข่ง หรือ หอยเชอรี่ (ต้องทำให้สุกนะครับ เพราะมันมีพยาธิมาก)
- พริกป่น
- ข้าวคั่ว
- เกลือ
- น้ำปลา
- ต้นหอม + ผักชี
- หอมแดง
- ผักชีฝรั่ง
- สะระแหน่
- มะนาว

วิธีทำ

- เริ่มด้วยการลวกหอย แค่พอให้ฝาเปิด เดี๋ยวหอยจะเหี่ยวเกิน เนื้อไม่อร่อย จากนั้นก็แกะเอาแต่เนื้อหอยมาล้างให้สะอาด ถ้าจะให้ดีขย้ำกับเกลือเล็กน้อย 

 จากนั้นก็หั่นหอยเป็นชิ้นๆ

- เข้าสู่ขั้นตอนการปรุงเลยแล้วกัน   ง่ายๆ แบบบ้านๆ ด้วยการหั่นหอมแดง ต้นหอม ผักชี ผักชีฝรั่ง สะระแหน่ซอย

นำลงไปคลุก ตามด้วยพริกป่น (เผ็ดมากเผ็ดน้อยตามชอบ) ใส่ข้าวคั่ว ตามด้วยเกลือเล็กน้อย เหยาะน้ำปลาลงไปอีกนิดหน่อย อย่ามากเดี๋ยวเค็มแล้วจะหาว่าไม่เตือน  สุดท้ายเพิ่มความเปรี้ยวด้วยน้ำมะนาว ของทุกอย่างใส่ได้ตามชอบ

 - จากนั้นก็คลุกเคล้าทุกอย่างให้เข้ากัน ชิมรสตามชอบ


เท่านี้ก็ได้เมนู “ก้อยหอยเชอรี่” อร่อยๆแล้ว ถ้าได้นั่งจิบกับเบียร์เย็นๆ ขอบอกว่าแซ่บหลาย ^_^

ฝากด้วยสาระจาก
http://th.wikipedia.org/wiki/หอยเชอรี่
          หอยเชอรี่ หรือ หอยโข่งอเมริกาใต้ หรือ หอยเป๋าฮื้อน้ำจืด (อังกฤษ: Golden applesnail, Channeled applesnail; ชื่อวิทยาศาสตร์: Pomacea canaliculata) เป็นหอยน้ำจืดจำพวกหอยฝาเดียว สามารถแบ่งหอยเชอรี่ได้ 2 พวก คือ พวกที่มีเปลือกสีเหลืองปนน้ำตาล เนื้อและหนวดสีเหลือง และพวกมีเปลือกสีเขียวเข้มปนดำ และมีสีดำจาง ๆ พาดตามความยาว เนื้อและหนวดสีน้ำตาลอ่อน หอยเชอรี่เจริญเติบโตและขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว ลูกหอยอายุเพียง 2 – 3 เดือน จะจับคู่ผสมพันธุ์ได้ตลอดเวลา หลังจากผสมพันธุ์ได้ 1 – 2 วัน ตัวเมียจะวางไข่ในเวลากลางคืน โดยคลานไปวางไข่ตามที่แห้งเหนือน้ำ เช่น ตามกิ่งไม้ ต้นหญ้าริมน้ำ โคนต้นไม้ริมน้ำ ข้าง ๆ คันนา และตามต้นข้าวในนา ไข่มีสีชมพูเกาะติดกันเป็นกลุ่มยาว 2 – 3 นิ้ว แต่ละกลุ่มประกอบด้วยไข่เป็นฟองเล็ก ๆ เรียงตัวเป็นระเบียบสวยงาม ประมาณ 388 – 3,000 ฟอง ไข่จะฟักออกเป็นตัวหอยภายใน 7 – 12 วัน หลังวางไข่

        
http://th.wikipedia.org/wiki/ก้อย
          ก้อย เป็นอาหารท้องถิ่นทางภาคอีสาน คล้ายกับลาบ และ ส้มตำ นิยมปรุงจากเนื้อสัตว์ดิบรวมถึงไข่และตัวอ่อนของแมลงทีกินได้ เช่น เนื้อวัว เนื้อกวาง เนื้อเก้ง เนื้อหมูป่า เนื้อปลา (ตะเพียน หรือ ปลาขาว) กุ้งฝอย หอยเชอรี่ กิ้งก่า (กะปอม) ไข่มดแดง ไข่แมงมัน ตัวอ่อนตัวต่อเป็นต้น ไม่นิยมปรุงจากเนื้อสัตว์ปีก เช่น นก เป็ด ไก่ เพราะจะมีกลิ่นคาว และเหม็นสาบ รุนแรง

ผัดกะเพรากบ แบบบ้านๆ

          ผัดกะเพรากบ (แบบบ้านๆ) ชื่อเมนูก็บอกให้รู้อยู่แล้วคะว่าเป็นเมนูที่ทำกินกันแบบง่ายๆ สไตล์ชาวบ้านจริงๆ ก่อนอื่นเรามารู้จักเครื่องปรุงกันก่อนแล้วกัน
เครื่องปรุง
1. กบ (หั่นเป็นชิ้น)
2. ใบกะเพรา
3. น้ำมันพืช
4. กระเทียม
5. พริกสด
6. น้ำปลา / ซอสปรุงรส
7. ผงรสดี
8. ใบอ่อนยอดต้นสน (อันนี้ใครไม่เคยกินก็ไม่ต้องใส่ก็ได้คะ แต่หากใครได้ลองชิมจะบอกว่ารสชาดดี)

กบ (หั่นเป็นชิ้น)
ใบอ่อนยอดต้นสน

วิธีทำ
     หั่นกบเป็นชิ้นเตรียมไว้ บางคนไม่ชอบทางหนังกบก็ให้แม่ค้าลอกหนังออกให้เสร็จสรรพได้เลย ตั้งกะทะใส่น้ำเล็กน้อย เพื่อรวนกบให้สุกและแห้งก่อน (อย่าใส่น้ำมากนะ เดี๋ยวจะแห้งยาก และคอยตักน้ำทิ้งได้) 
ใส่น้ำมันลงไปเล็กน้อย ตามด้วยพริกสดและกระเทียมที่โขลกเข้ากันไว้แล้ว


          ในระหว่างนี้ผัดไปเติมน้ำปลากับซอสปรุงรส ตามด้วยผงรสดีเล็กน้อย เรียกว่าเติมตามชอบเลยคะ อย่าลืมว่าเมนูนี้เป็นกะเพราะต้องรสจัดนิดๆ เผ็ดหน่อยๆ กำลังดีคะ ผัดให้ส่วนผสมทุกอย่างเข้ากัน ก่อนยกลงใส่ใบกะเพราและใบอ่อนยอดสนลงไป ผัดให้เข้ากันเล็กน้อย ยกลงพร้อมเสิร์ฟได้เลย




ผัดกะเพรากบ
ปิดเมนู ขอเสริมอีกเล็กน้อย สำหรับท่านที่ชอบกลิ่นเครื่องเทศ ลองโขลกเครื่องเทศลงไปผสมกับกระเทียม พริกสดได้นะ รับรองว่าจะยิ่งชวนให้มีกลิ่นหอมน่ากินสุดๆ แต่ใครไม่ชอบกลิ่นเครื่องเทศก็ไม่ต้องใส่ได้จร้า

Advertisement