ยุทธศาสตร์และโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที


          สมมติว่ามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งกำหนดยุทธศาสตร์หนึ่งไว้ว่า “นำ ICT มาใช้ในการสอนการเรียนระดับปริญญาออนไลน์ หรือการเรียนผ่านอินเทอร์เน็ตด้วยเว็บ (Web-Based Education: WBE) เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของการศึกษาระดับภูมิภาคอาเซียน” หากท่านเป็น CIO (Chief Information Officer) และเป็นหนึ่งในทีมคณะกรรมการบริหาร ICT ของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่ายุทธศาสตร์ดังกล่าวนั้นจะสามารถปฏิบัติได้และจะประสบความสำเร็จ
จงวิเคราะห์และเสนอแนวทางในการนำความรู้ที่ท่านได้ศึกษาจากหน่วยที่ 8 และหน่วยที่ 9 เข้ามาประยุกต์ในการบริหารจัดการและดำเนินการได้อย่างไรบ้าง
โดยแบ่งประเด็นที่ให้วิเคราะห์และนำเสนอ คือ
1. โครงสร้างพื้นฐานด้านไอที
2. ยุทธศาสตร์ไอทีที่นำมาประยุกต์

ตอบ
1.    โครงสร้างพื้นฐานด้านไอที
     การพิจารณาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านไอที เราต้องสำรวจสถานภาพและสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัย ในด้านความพร้อม การใช้งาน และสถานการณ์ที่เป็นภัยคุกคามต่อมหาวิทยาลัย สามารถประมวลสรุปสถานภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ต้องศึกษา ดังนี้

สถานภาพด้านอุปกรณ์ ICT  โดยการพิจารณาโครงสร้างพื้นฐานไอที สามารถแบ่งออกได้เป็น  2 ส่วน ได้แก่
1.1 โครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีภายใน เช่น ด้านอุปกรณ์ ซอฟต์แวร์ และโครงข่ายด้าน ICT ต้องพิจารณาในส่วนต่างๆ คือ 
     -  ชั้นอุปกรณ์พื้นฐาน ประกอบด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เครื่อง Server เครื่องพิมพ์ เครื่องควบคุมการสื่อสารข้อมูล รวมทั้งระบบซอฟต์แวร์ต่าง ๆ เช่น ระบบควบคุมปฏิบัติงาน ระบบบริหารฐานข้อมูล และอื่น ๆ
     -  ชั้นของระบบไอทีที่บริการให้ใช้ร่วมกันทั้งองค์กร (shared IT services) เป็นการนำกลุ่มอุปกรณ์พื้นฐานมาจัดทำให้เป็นรูประบบที่สามารถบริการได้ เช่น ระบบฐานข้อมูลลูกค้า หรือฐานข้อมูลพนักงานที่แบ่งกันใช้ได้ หรือระบบอินทราเน็ตที่ให้พนักงานใช้บริการสื่อสารและค้นหาข้อมูลได้ทั่วทั้งองค์กร เป็นการเพิ่มระบบซอฟต์แวร์พื้นฐาน ทำให้อุปกรณ์พื้นฐานให้บริการไอทีที่ใช้ร่วมกันได้
     -  ชั้นของระบบงานที่ให้บริการด้วยงานมาตรฐานที่จำเป็นต้องใช้ทั้งองค์กร เช่น ระบบบัญชี ระบบบริหารบุคลากร ระบบบริหารงบประมาณ เป็นระบบงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ที่ทุกหน่วยงานจำเป็นต้องใช้ ระบบงานเหล่านี้ จัดเป็นระบบงานของส่วนกลางที่ให้ใช้ร่วมกัน (shared and standard IT applications) เป็นการเพิ่มชั้นแอปพลิเคชัน เพื่อทำงานเฉพาะทางขององค์กร
 
1.2 โครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีภายนอก เช่นสถานภาพด้านโครงข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารภายนอกมหาวิทยาลัย

2. สถานภาพด้านการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยการประเมินสภาพแวดล้อมทางด้านไอทีที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เช่น
•    ประเมินสภาพเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบสารสนเทศ
•    พิจารณากลยุทธ์นโยบายปัจจุบันและอดีต
•    การจัดองค์กรของแผนกไอทีและกระบวนการทำงาน
•    สินทรัพย์ ทรัพยากร และความเชี่ยวชาญที่มีอยู่ในปัจจุบัน
•    วิธีการในการพัฒนาระบบและฝึกอบรม

3. สถานภาพบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งต้องพิจารณาโดยแบ่งเป็นพนักงานในระดับ
     3.1 ระดับผู้บริหาร
     3.2 ระดับผู้ปฏิบัติงาน
ว่ามีความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมาน้อยเพียงใดโดยอาจพิจารณาตามหัวข้อ เช่น
-  ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้และบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์
-  ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับฐานข้อมูล
     -  ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ Internet
-  การใช้งานซอฟต์แวร์พื้นฐาน
-  การใช้งานซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะด้าน

4. สถานภาพด้านการผลิตและพัฒนาแบบเรียน ตำรา สื่อสิ่งพิมพ์และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มีความพร้อมทางด้านการผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์ มัลติมีเดียเพียงพอตามความต้องการหรือไม่  และสื่ออิเล็กทรอนิกส์สามารถอ่านผ่านคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต หรือโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ทั้งในระบบออฟไลน์และออนไลน์ ได้หรือไม่ เพื่อให้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์จำนวนมากที่จะถูกผลิตขึ้นเกิดประโยชน์ได้อย่างแท้จริง ควรคำนึงถึงการสร้างโอกาสการรับรู้ และการกระจายข้อมูลข่าวสารอย่างทั่วถึง ทัดเทียมกันสำหรับทุกกลุ่มคนในสังคมให้เข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้

2.   ยุทธศาสตร์ไอทีที่นำมาประยุกต์
   สำหรับยุทธศาสตร์ที่จะทำให้ยุทธศาตร์ที่ทางมหาวิทยาลัยกำหนดคือ “นำ ICT มาใช้ในการสอนการเรียนระดับปริญญาออนไลน์ หรือการเรียนผ่านอินเทอร์เน็ตด้วยเว็บ (Web-Based Education: WBE) เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของการศึกษาระดับภูมิภาคอาเซียน” สำเร็จได้นั้น ยุทธศาตร์ทางด้านไอทีที่นำมาใช้คือพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการเรียนกาสอน และการวิจัยและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ยุทธศาสตร์ที่ 1    พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการเรียนกาสอน และการวิจัย
วัตถุประสงค์ / เป้าประสงค์
     1. มีระบบ e-Learning  (VDO streaming, Courseware ตามหลักสูตรที่คณะต้องการทำในรูป e-learning)  
     2. มีระบบบริหารจัดการด้านการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Learning Management System) เพื่ออำนวยความสะดวกในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 
     3. มีระบบการเรียนการสอนทางไกล หรือห้องเรียนเสมือน (Virtual Classroom)  และการเรียนรู้ด้วยตนเองในรูปแบบวีดิทัศน์ตามประสงค์ (Video On Demand)
     4. พัฒนาแหล่งเรียนรู้ที่ทันสมัย เพื่อการเรียนรู้ เช่นระบบห้องสมุด e-Library, ระบบพิพิธภัณฑ์ เสมือน (e- Museum) และชุมชนอิเล็กทรอนิกส์ e-Community
     5. พัฒนาแหล่งเรียนรู้ เพื่อการวิจัย เช่น ฐานข้อมูลงานวิจัย และระบบฐานข้อมูลมีความถูกต้อง มีการจัดทำ VDO เพื่อเผยแพร่การประชุมทางวิชาการ การแถลงข่าวผ่านเว็บ และต้องเชื่อถือได้ ทันสมัยใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงได้
     6. มีระบบสารสนเทศเพื่อการบริการและบริหารการศึกษา (ร่วมกับสำนักทะเบียน)
    7. มีระบบสารสนเทศเพื่อการประเมินผลการสอน

กลยุทธ์
    1.  พัฒนาระบบการเรียนรู้ผ่านเครือข่าย (e-Learning)
    2.  พัฒนาระบบห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (e-Library)
    3.  พัฒนาระบบพิพิธภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Museums)
    4.  พัฒนาชุมชนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Community)
    5.  สร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษาและ
               วิจัย
ตัวชี้วัด
1.    จำนวนสื่อการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ที่ผลิต
2.    จำนวนหลักสูตรที่ให้เรียนรู้ผ่านระบบ
3.    จำนวนรายวิชาที่มีให้บริการในระบบ
4.    จำนวนโครงการที่จัดฝึกอบรม หลักสูตรและผลิตสื่อ  การสืบค้นข้อมูลโปรแกรมประยุกต์ที่ใช้ในการเรียนการสอนและการวิจัย
5.    จำนวนผู้เข้าใช้งานระบบพิพิธภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Museum)
6.    จำนวนผู้ใช้งานระบบห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (e-Library)
7.    ความพึงพอใจของการใช้ระบบต่าง ๆ จากนักศึกษาและบุคคลากร


ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
วัตถุประสงค์ / เป้าประสงค์
1.    มีโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การสื่อสารและโทรคมนาคมภายในมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพ และสามารถเชื่อมโยงเครือข่ายไปยังหน่วยงานต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัยอย่างทั่วถึง
2.    พัฒนาระบบการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจากภายนอก ให้มีประสิทธิภาพ
3.    พัฒนาระบบความปลอดภัยของระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ
4.    พัฒนาระบบรักษาความปลอดภัยสาธารณะขององค์กรผ่านระบบเครือข่าย
5.    มีระบบบริการ e-Service เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและขยายช่องทางการให้บริการ นิสิต บุคลากรของมหาวิทยาลัย  ให้สามารถเข้าถึงบริการได้ทุกที่  ทุกเวลา
6.    มีการพัฒนาระบบสำรองข้อมูลแบบคู่ขนาน (Replicate Site) เพื่อช่วยลดปัญหาและความเสี่ยงด้านการให้บริการระบบสารสนเทศ
7.    มีอุปกรณ์ ICT ครบในทุกห้องเรียน
กลยุทธ์   
1.    พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ICT เพื่อยกระดับการศึกษาด้านเครือข่ายและด้านการจัดการ
2.    สร้างมาตรฐานความปลอดภัยของระบบสารสนเทศของระบบสารสนเทศและความปลอดภัยสาธารณะ
3.    พัฒนาระบบการให้บริการด้าน ICT อย่างมีประสิทธิภาพ

ตัวชี้วัด
1.    มีแผนพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการกำกับดูแลตามกรอบนโยบายของมหาวิทยาลัย
2.    มีการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายภายในมหาวิทยาลัย เชื่อมต่อระหว่างวิทยาเขตและเครือข่ายภายนอกมหาวิทยาลัยอย่างมีประสิทธิภาพ
3.    มีการดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
        พ.ศ. 2550
4.    มีการประชุมอบรมสัมมนาของผู้ดูแลระบบไม่น้อยกว่า 2 ครั้งต่อปี
5.    มีการปรับปรุง และทบทวนแผนให้เหมาะสมทุกปี
6.    มีระบบเส้นทางสื่อสารอินเทอร์เน็ต และมีสวิตซ์สำรองกรณีวงจรหลักขัดข้องเพื่อการบริการที่มีประสิทธิภาพ
7.    ให้บริการระบบเครือข่ายไร้สาย โดยมีระบบรักษาความปลอดภัยของระบบเครือข่ายครอบคลุมทุกพื้นที่และมีประสิทธิภาพ
8.    มีการพัฒนาระบบสำรองข้อมูลแบบคู่ขนาน (Replicate Site) เพื่อช่วยลดปัญหาและความเสี่ยงด้านการให้บริการระบบสารสนเทศและมีระบบสำรองข้อมูล เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่เกิดขึ้น



SHARE

Southern Man

This blog www.whoknown.com ,write to prevent forgotten .

    Blogger Comment
    Facebook Comment

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Advertisement